การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการให้การปรึกษา ของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

สิริรัตน์ จรรยารัตน์
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
วรินทร บุญยิ่ง
จิตรา ดุษฎีเมธา

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายหลักคือพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษาวิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านการให้การปรึกษา และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 94 แห่ง ขั้นตอนที่ 2) สร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาพบจากขั้นตอนที่ 1 และศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างต้นแบบโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3) ทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา กับนักแนะแนวของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 12 คน แบบแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ขั้นตอนที่ 4) ประเมินความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา จากการสำรวจความคิดเห็นความเป็นประโยชน์และความเหมาะสมในการนำโปรแกรมไปใช้ จากความคิดเห็นของนักแนะแนวกลุ่มทดลอง จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า

        1. นักแนะแนว ต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้มากที่สุด เลือกวิธีการพัฒนาสมรรถนะคือ การฝึกอบรม

        2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษามีโครงสร้างทั้งหมด 7 องค์ประกอบได้แก่ 1) ความจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะ 2) การออกแบบโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะ 3) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 4) เนื้อหาสาระ 5) สื่อประกอบการพัฒนา 6) กระบวนการพัฒนา และ 7) การวัดและการประเมินผล

        3. ค่าเฉลี่ยความรู้ การวัดทักษะและคุณลักษณะส่วนบุคคลหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

        4. ผลการประเมินข้อคิดเห็นของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการให้การปรึกษาของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษาพบว่ามีความเป็นประโยชน์และเหมาะสมมากที่สุด

คำสำคัญ : การให้การปรึกษา/ สมรรถนะ/ นักแนะแนว

 

 

Abstract

        The purposes of this research were 1) to study the counseling competencies of the counselors in higher educational institutions, and need competencies development of counselor competencies, 2) to develop a program for enhancing counselor competencies 3) to experiment the program and 4) to evaluate the program.

        The research methodology consisted of 4 steps: step1) to studying counseling competencies and the needs for the development from the sample drawn from the counselors of 94 higher educational institutions. Step 2) constructing a hypothetical program for development by analyzing and synthesizing from the study results in step 1, and the synthesis of reviewed documents and related research findings. The constructed program was validated by 5 experts. Step 3) experimenting the program for enhancing the counselor competencies by using experimental research one group pretest-posttest design with 12 counselors from higher education. Step 4) evaluating program from the opinions, comments and suggestions from of the experiment group.

        The study revealed that :

        1. The counselors needed to develop the knowledge of counseling competencies at the highest level.

        2. The program development for enhancing counselor competencies in guidance consisted of seven elements : 1) the needs for of program development in enhancing competencies 2) the methods for program development in enhancing competencies 3) Program’s objectives 4) the content of the program 5) media for development 6) program development

        3. Skills and personal attributes before and after the use of the program for enhancing the counselor competencies were significantly different.

        4. The program was rated at highest level of usefulness and appropriateness from the experimental group.

Key words: Counseling/ Competencies/ Counselors

Article Details

How to Cite
จรรยารัตน์ ส., ภักดีวงศ์ ภ., บุญยิ่ง ว., & ดุษฎีเมธา จ. (2015). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการให้การปรึกษา ของนักแนะแนวในสถาบันอุดมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 17(2), 98–107. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33360
Section
Research Articles