การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงาน เป็นฐานร่วมกับระบบพี่เลี้ยง สำหรับวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค

Main Article Content

สันติ หุตะมาน
พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยงในรายวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนระหว่างกลุ่มที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับกลุ่มผู้เรียนที่ใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยงในรายวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค 3) ศึกษาระดับความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยงในรายวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค 4) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนระหว่างกลุ่มที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับกลุ่มผู้เรียนที่ใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยงในรายวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค และ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยงในรายวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ที่เรียนวิชา 020133923 ระบบควบคุมแบบคลาสสิค ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 15 คนเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพียงอย่างเดียว และกลุ่มทดลอง 15 คนเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือครู 2) ชุดประลองที่ประกอบด้วยพลานต์ที่แตกต่างกัน 5 ชนิด
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 27 ข้อ มีค่า IOC ที่ได้จากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 8 คน อยู่ระหว่าง 0.75 – 1 ดัชนีความยากง่ายและอำนาจการจำแนกที่ได้จากการให้ผู้เรียนที่ผ่านการเรียนในรายวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิคหรือวิชาอื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาแล้วทดลองทำแบบทดสอบ จำนวน 16 คน มีค่าอยู่ระหว่าง
0.33 – 0.8 และระหว่าง 0.5 – 1 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจากวิธี KR20 มีค่า 0.90 4) แบบทดสอบทักษะปฏิบัติ มีค่า IOC ที่ได้จากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 8 คนอยู่ระหว่าง0.62 – 0.87 ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจากวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่ามีค่า 0.767 จำนวน 3 ข้อ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับพี่เลี้ยง

        ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการทางการเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีผลการประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนโดยวิธี Average Normalized Gain พบว่ามีความก้าวหน้าทางการเรียนแต่อยู่ในระดับต่ำ (<g>=0.279 น้อยกว่า 0.3) 3) ความคงทนทางการเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ระดับความพึงพอใจของกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.83, S.D. = 0.56)

คำสำคัญ: โครงงานเป็นฐาน/ พี่เลี้ยง/ ชุดประลอง/ ความคงทนทางการเรียน

 

Abstract

        This research aims: 1) to develop a learning management based on constructivist approach by using project-based learning with Mentor in Classical Control System course, 2) to compare the development of learning of the students between learning by using project-based learning and project-based learning with mentor in this course, 3) to study the educational progress level of students who learn through the project-based learning with mentor in this course, 4) to compare the learning retention of the students between learning by using project-based learning and project-based learning with mentor in this course, and 5) to evaluate the satisfaction of learners after learning by using project-based learning with mentor in this course. The sample is undergraduate students majoring in Mechatronic Engineering, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, who study in 020133923 Classical Control Systems, using purposive sampling of 30 people (divided into 2 groups, control and experiment group). The instruments used in this study were 1) teacher’s guide book 2) a experiment set consisting 5 different kinds of plants 3) 27-questions Achievement Test with the IOC's assessment of 8 experts between 0.75 and 1. Difficulty and Discrimination Index of 16 learners who used to learn Classical Control Systems or other subjects with similar contents are from 0.33 to 0.8 and from 0.5 to 1 in order and reliability value with KR20 was 0.90. 4) 3 performance test with the IOC's assessment of 8 experts between 0.62 and 0.87 and Reliability value with alpha coefficient was 0.767 and 5) student satisfaction Questionnaire towards learning based on constructivist approach by using project-based learning with mentor. The results show that 1) comparisons of the development of learning of the students between control group and experiment group are difference at a statistically non-significant level .05, 2) the experiment group was evaluated by Average Normalized Gain of progressive learning showed that the learning progress is low (<g> = 0.123 less than 0.3), 3) comparisons of learning retention between control group and experiment group are difference at a statistically non-significant level .05, 4) the satisfaction of the experiment group towards learning based on constructivist approach by using the project-based learning with mentor that the researcher created shows that the satisfaction in general is at high level (mean = 3.83, SD = 0.56).

Key words: Project-based Learning/ Mentoring/ Experimental Set/ Learning Retention

Article Details

How to Cite
หุตะมาน ส., & โกษียาภรณ์ พ. (2015). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงาน เป็นฐานร่วมกับระบบพี่เลี้ยง สำหรับวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค. Journal of Education and Innovation, 17(2), 108–122. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33361
Section
Research Articles