การประเมินผลการจัดการศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2550 - 2554 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการศึกษาในสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2550 - 2554 มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาภาคปกติหลักสูตร 4 ปี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2550 - 2554 จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 3 ฉบับ แบ่งออกเป็น 1) แบบสอบถามสำหรับบัณฑิตที่มีต่อภาควิชาฯ 2) แบบสอบถามสำหรับผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของบัณฑิต 3) แบบสอบถามสำหรับผู้ร่วมงานของบัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย

        ผลการวิจัยพบว่า

        บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ใช้เวลาเรียนจนสำเร็จการศึกษาเป็นระยะเวลา 4 ปี (ร้อยละ 92.6) เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาแล้วบัณฑิตไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติม (ร้อยละ 44.9) เมื่อถามความต้องการศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาโทพบว่า บัณฑิตต้องการศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาโท (ร้อยละ 90.4) เพราะต้องการต่อยอดจากวุฒิปริญญาตรี และเพื่อพัฒนาตนเอง โดยนำความรู้ไปประกอบอาชีพ และไม่ต้องการศึกษาต่อ (ร้อยละ 9.6) ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของบัณฑิตเป็นราชการ (ร้อยละ 57.4) รองลงมาคือ เอกชน (ร้อยละ 30.1) ระยะเวลาการทำงานระหว่างผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างกับบัณฑิต เป็นระยะเวลา 1-3 ปี (ร้อยละ 38.2) ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้าง คือ ปริญญาตรี (ร้อยละ 61.8) รองลงมา คือ ปริญญาโท (ร้อยละ 25.7) ส่วนความต้องการนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาระดับปริญญาโทของผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างจากหน่วยงานที่ได้สอบถามปรากฏว่าส่วนใหญ่คือไม่ต้องการ (ร้อยละ 55.1) ผู้ร่วมงานของบัณฑิตเป็นราชการ (ร้อยละ 53.7) รองลงมา คือ เอกชน (ร้อยละ 26.5) ระยะเวลาที่ทำงานร่วมกันโดยเฉลี่ย 1-3 ปี (ร้อยละ 33.1) และ 4-6 ปี (ร้อยละ 33.1) ส่วนระดับการศึกษาของผู้ร่วมงานของบัณฑิต คือปริญญาตรี (ร้อยละ 72.8)

        ความคิดเห็นของบัณฑิตเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหน่วยงานที่บัณฑิตประกอบอาชีพ คือ งานราชการ (ร้อยละ 46.3) รองลงมาคือ งานเอกชน (ร้อยละ 30.1) ประเภทของงานที่บัณฑิตได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ คือ ผลิตสื่อการสอน (ร้อยละ 25) และอื่นๆ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ (ร้อยละ 25) สื่อการสอนที่ผลิตส่วนใหญ่ คือ สิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 24.3) รองลงมาคือ กราฟิก (ร้อยละ 5.9) ซึ่งประเภทของสื่อการสอนที่ผลิตมากที่สุดสามอันดับแรก คือ สิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 20.6) รองลงมาคือ วีดิทัศน์ (ร้อยละ 8.8) และกราฟิก (ร้อยละ 5.1) ส่วนประเภทของสื่อการสอนที่ผลิตน้อยที่สุดสามอันดับแรก คือ เทปเสียง (ร้อยละ 25) รองลงมาคือ สิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 5.1) และภาพนิ่ง (ร้อยละ 4.4) จำนวนบุคคลที่บัณฑิตต้องรับผิดชอบในการผลิตสื่อการสอนมีจำนวน 1-6 คน (ร้อยละ 34.6) โดยมีปริมาณงานด้านการผลิตสื่อการสอนโดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-5 ชิ้น (ร้อยละ 34.6) การมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อการสอนส่วนใหญ่ คือ ให้คำปรึกษาในบางเรื่อง (ร้อยละ 25) รองลงมาคือ ร่วมวางแผน (ร้อยละ 9.6) ความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาช่วยในการผลิตสื่อการสอนส่วนใหญ่ คือ สามารถนำไปช่วยในการทำงานได้พอสมควร แต่ต้องศึกษามีการศึกษาเพิ่มเติมบ้าง (ร้อยละ 25) รองลงมาคือ ช่วยในการทำงานได้มากที่สุด โดยไม่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเลย (ร้อยละ 9.6) ลักษณะการให้บริการสื่อการสอน คือ บัณฑิตเป็นผู้ให้บริการสื่อการสอนด้วยตนเองทุกครั้ง (ร้อยละ 10.4) รองลงมา คือ บัณฑิตหรือผู้ร่วมงานแบ่งหน้าที่การให้บริการตามความชำนาญ (ร้อยละ 4.4) ส่วนด้านการให้บริการสื่อการสอนมีความถี่ในการให้บริการเฉลี่ย 1-10 ครั้งต่อวัน (ร้อยละ 19.9) ประเภทของสื่อการสอนที่มีผู้มาขอรับบริการมากที่สุดอันดับแรก คือ คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 7.4) รองลงมาคือ เครื่องเสียง (ร้อยละ 4.4) และสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 2.9) ประเภทของสื่อการสอนมีผู้มาขอรับบริการน้อยที่สุดอันดับแรก คือ เครื่องฉายภาพนิ่ง (ร้อยละ 11) รองลงมาคือ เครื่องฉายภาพยนตร์ (ร้อยละ 5.1) และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (ร้อยละ 3.7) บัณฑิตที่เป็นผู้สอนได้สอนวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา สอนนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มากที่สุด (ร้อยละ 5.1) รองลงมาคือ สอนในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 4.4) บัณฑิตต้องรับผิดชอบบุคลากรโดยเฉลี่ย 1-10 คน (ร้อยละ 5.1) บัณฑิตต้องทำงานวิจัยประมาณปีละ 1-4 เรื่อง (ร้อยละ 0) สะท้อนให้เห็นว่าบัณฑิตไม่มีการทำวิจัยเพิ่มเติมในขณะทำงาน สภาพปัญหาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ที่ประสบ คือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้และเต็มใจมาร่วมงาน (ร้อยละ 29.4) รองลงมาคือ ขาดแคลนงบประมาณเพื่อดำเนินงาน (ร้อยละ 25.7) วิธีการแก้ไขปัญหาที่ประสบจากการปฏิบัติงาน คือ เรียกศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ, แจ้งผู้บังคับบัญชาถึงความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยี, กู้ยืมเงินในสถาบันการเงินที่ไว้ใจได้, เริ่มจากการสอนบุคคลอื่นให้พอที่จะสามารถทำงานพื้นฐาน, หาความรู้เพิ่มเติม, ใช้เท่าที่มีอยู่, หางบประมาณนอกระบบ, ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ, ชี้แจ้งผู้บริหารโดยตรง, นำปัญหามาวิเคราะห์ บัณฑิตต้องทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานประมาณ 1-6 คน (ร้อยละ 69.9) และปฏิบัติงานในหน่วยงานเป็นเวลา 1-8 ปี (ร้อยละ 69.9)

        ความคิดเห็นที่มีต่อภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามคุณสมบัติเข้าศึกษาหลักสูตร 4 ปี โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยส่วนใหญ่ คือไม่น้อยกว่า 2.75 (ร้อยละ 45.6) รองลงมา คือ ไม่น้อยกว่า 2.5 (ร้อยละ 23.5) ทฤษฎีที่ได้รับจากการเรียนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความเพียงพอ เพราะอยู่โรงเรียนส่วนใหญ่จะใช้สื่อแบบเก่าๆ (ร้อยละ 54.4) ซึ่งทำให้มีทักษะมีเพียงพอต่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ส่วนการนำมาความที่เรียนมาช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน สามารถช่วยได้ในระดับปานกลาง เพราะปฏิบัติงานได้หลากหลายและแก้ปัญหาเฉาะหน้าได้ (ร้อยละ 55.1) ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาควรจัดบริการทางวิชาการแก่สังคมมากที่สุด คือ จัดฝึกอบรมการผลิตและการใช้สื่อการสอนแก่ครู-อาจารย์ระดับต่างๆ (ร้อยละ 50.7) รองลงมา คือ จัดทำเอกสารทางวิชาการจำหน่ายหรือแจกจ่าย (ร้อยละ 15.4) และจัดประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ (ร้อยละ 14.7) ควรจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับนิสิตเก่า มากที่สุด คือ ประชาสัมพันธ์ข่าวและกิจกรรมของภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ทางสื่อมวลชนตามโอกาส (ร้อยละ 39.7) รองลงมาคือ จัดประชุมทางวิชาการอย่างน้อยทุกสองปี (ร้อยละ 35.5) และ จัดชุมนุมนิสิตเก่าโดยมีกิจกรรมทางวิชาการด้วย (ร้อยละ 14.7) กิจกรรมสัมพันธ์อันดับแรก คือ จัดประชุมทางวิชาการอย่างน้อยทุกสองปี (ร้อยละ 35.3) รองลงมาคือ ประชาสัมพันธ์ข่าวและกิจกรรมของภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ทางสื่อมวลชนตามโอกาส (ร้อยละ 25) และออกเยี่ยมเยียนนิสิตเก่าที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค (ร้อยละ 14.7)

คำสำคัญ: การประเมินผลการจัดการศึกษา/ ติดตามผลการปฏิบัติงาน

 

Abstract

        The purposes of this study were 1) To study on students’ opinions regarding Educational Technology and Communications, and 2) To evaluate the works of students who graduated from Educational Technology and Communications in 2007 – 2011. The sample was 170 students who graduated from Educational Technology and Communications in 2007 – 2011. The research instruments were 3 sets of questionnaires, divided into 1) Questionnaire for students regarding the major, 2) Questionnaire for supervisors or employers of the students, 3) Questionnaire for the students’ colleagues. Statistics used on the study was analyzing information by using mean (\bar{x}) and S.D, and presenting by using tables and lectures.

        Results;

      Educational Technology and Communications students finished their study in four years (92.6%). Once they graduated from the major, they wouldn’t continue their study (44.9%). When asked about wants of Educational Technology and Communications or Master in Audiovisual Education students, they wanted to study Educational Technology and Communications or Master in Audiovisual Education (90.4%) because they want to continue the area that they’ve already started and to develop themselves by applying the knowledge to their career. Students that didn’t want to continue studying is 9.6%. Supervisors or employers of the students were government officials (57.4%), followed by non-government officials (30.1%). Time duration that the supervisors or employers worked with the students for 1-3 years (38.2%). The highest education level of supervisors or employers was bachelor’s degree (61.8%), followed by master’s degree (25.7%). 53.7% of the supervisors and employers said that they didn’t want students who finished master’s degree. Colleagues of students were government officials (53.7%), followed by non-government officials (26.5%). Working length was 1-3 years (33.1%), and 4-6 years 33.1%). The students’ colleagues finished bachelor’s degree (72.8%)

        Student’s opinions regarding their works, the workplaces were governmental organization (46.3%), followed by non-governmental organization (30.1%). Types of works that the students got assigned were producing instruction media (25%) and others that were not described (25%). Most of instruction media were printing media (24.3%), followed by graphics (5.9%). The top three produced instruction media were printing media (20.6%), followed by video (8.8%), and graphics (5.1%). The bottom three produced instruction media were tape (25%), followed by printing media (5.1%), and slides (4.4%). The amount of people that students were in charge of producing instruction media for was 1-6 people (34.6%) with 1-5 works a week (34.6%). The participation that the students got were advising in some stages (25%), followed by planning (9.6%). The knowledge gained from the works were ability to adjust the experience to real workplace, yet more instruction needed (25%), followed by literally helpful for working in real workplace without the need of additional instruction (9.6%). The character of assigning works for the student were the students volunteered (10.4%), followed by other students or colleagues assigned according to expertise (4.4%). The frequency of assigning works was 1-10 times a day (19.9%). Types of most requested instruction media were computer (7.4%), followed by stereo (4.4%) and printing media (2.9%). The bottom requested instruction media were slides (11%), followed by projector (3.7%) and over-head projector (3.7%). The students got assigned to lecture other diploma students the most often (5.1%), followed by bachelor’s students (4.4%). The students were in charge of taking care of 1-10 personals (5.1%). The students had to finish four studies a year (0%), which shows that the students didn’t have to finish additional studies during the work period. Problems occurred during the work period were lack of knowledgeable personals who cooperated (29.4%), followed by lack of budget in order to keep the work going (25.7%). The resolutions were call the information technology center, inform supervisors of the need of technology, borrow money from a reliable financial institution, start to teach other people to be able to work fairly, learn more, use what already have, look for additional budget, consult with experts, directly inform executives, and analyze problems. The students had to work with 1-6 colleagues (69.9%) and had to perform the work at their organization for 1-8 years (69.9%).

        Opinions toward Educational Technology and Communications those who would like to study in Educational Technology and Communications has grade average point of not less than 2.75 (45.6%), followed by not less than 2.5 (23.5%). Principals gained from Educational Technology and Communications was that overall education was sufficiency. Most of schools used old-fashioned media (54.4) which limited the skills regarding performance. Applying knowledge to the works could help moderately because working required various types of skills and the ability to resolve facing problems (55.1%). Educational Technology and Communications should organize an event training teachers in various levels to produce and use media (50.7%), followed by produce academic document and sell or distribute them (15.4%), and hold an academic meeting or seminar (14.7%). Also, it should keep its relationships with alumni by occasionally publicizing Educational Technology and Communications’ news via mass media (39.7%), followed by hold an academic meeting at least twice a year (35.5%), and organize an alumni reunion which also includes academic activities (14.7%). The top interactive activities were organizing academic meeting at least twice a year (35.3%), followed by occasionally publicizing Educational Technology and Communications’ news via mass media (25%), and visiting alumni who work in provincial area (14.7%).

Key words : Educational Evaluation Management/ Follow-up on Graduates’ Work Performance

Article Details

How to Cite
สิทธิวงศ์ ท. (2015). การประเมินผลการจัดการศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2550 - 2554 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Education and Innovation, 17(2), 171–182. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33367
Section
Research Articles