การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้รูปแบบการจูงใจ ARCS

Main Article Content

สุทธิพงศ์ บุญผดุง

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูก่อนและหลังจากการใช้รูปแบบการจูงใจ ARCS 2) เปรียบเทียบทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูหลังจากการใช้รูปแบบการจูงใจ ARCS กับค่าเป้าหมายร้อยละ 85 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูหลังจากใช้แนวคิดการจูงใจตามรูปแบบ ARCS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 จำนวน 202 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาระดับทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นฐานข้อมูลก่อนการพัฒนา 2) จัดทำแผนจัดการเรียนรู้โดยยึดรูปแบบการจูงใจ ARCS เป็นกลไกหรือกระบวนการการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณให้กับนักศึกษาครูตามมาตรฐานของการมีทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ เชื่อมโยงทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณในการใช้ข้อมูลที่หลากหลายในรายวิชาที่ผู้วิจัยและทีมรับผิดชอบสอน 3) ประเมินทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครูหลังจากใช้รูปแบบการจูงใจ ARCS ด้วยการประเมินจากทักษะการสืบค้นข้อมูล ผลงานที่ได้จาการสืบค้นข้อมูล เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC= .66-1.00) และความเชื่อมั่นเท่ากับ .834 (a=.834) ผลการวิจัย พบว่า 1) ก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนด้วยรูปแบบ ARCS นักศึกษาครูมีทักษะการสืบค้นข้อมูลในภาพรวมระดับค่อนข้างมากถึงมาก แต่จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มพบว่านักศึกษามีความรู้และความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล เช่น ไม่มีการคัดเลือก และคัดกรองข้อมูลที่สืบค้นได้ ในขณะหลังจากใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ ARCS นักศึกษาครูมีทักษะการสืบค้นข้อมูลในภาพรวมระดับมาก โดยนักศึกษาครูสามารถอธิบายถึงวิธีการสืบค้นข้อมูล คัดกรอง คัดเลือก ประเมินและตัดสินใจในการยอมรับและเชื่อถือข้อมูลที่สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) นักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้นที่มีทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าค่าเป้าหมายร้อยละ 85 และ
3) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจค่อนข้างมากจนถึงมากที่สุดในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบ ARCS

คำสำคัญ: ทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ/ รูปแบบ ARCS/ ความพึงพอใจ

 

Abstract

          The research aimed to report ARCS model for promoting pre-service teachers’ critical information retrieval skill. The purposes were to (1) study the critical information retrieval skill of the pre-service teacher between before and after participating learning activities applying ARCS model, (2) compare the critical information retrieval skill after participating learning activities applying ARCS model to expectation level – 85%, and (3) investigate the effect of using ARCS model on the development of pre-service teachers’ information retrieval skill. Two hundred and two pre-service teachers who enrolled in the second semester in 2013 were purposively selected as the research cohort. The research tools was questionnaire that was approved as content validity and reliability (IOC=.66-1.00, a =.834). The research found that before participating learning activities applying ARCS model, overall critical information retrieval skill of the pre-service teachers was at rather high to high level. After interviewing, the researcher however found that the pre-service teachers possessed incorrect knowledge and idea in critical information retrieval skill. After participating in ARCS learning activities, the pre-service teachers’ critical information retrieval skill was developed reaching high level. Moreover, the pre-service teachers were able to effectively explain process for retrieving, filtering, selecting, evaluating information, and making decision on the most valid and accurate information. The result additionally reported that only critical information retrieval skill of pre-service teacher majoring English was higher than the expectation of 85%. Finally, the research revealed that the pre-service teachers were satisfied with ARCS learning activities for developing critical information retrieval skills.

Keywords: Critical information retrieval skill/ ARCS model/ Satisfaction

Article Details

How to Cite
บุญผดุง ส. (2015). การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้รูปแบบการจูงใจ ARCS. Journal of Education and Innovation, 17(3), 10–20. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/39215
Section
Research Articles