การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41

Main Article Content

พิมพ์ทอง มุสิกะปาน
สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส
รัชนี นิธากร

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พัฒนาและประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการสอบถามด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่า IOC อยู่ในช่วง 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น = 0.88 การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการศึกษา พบว่า
        1.  สภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ส่วนใหญ่มีการดำเนินการทุกกิจกรรมโดยด้านการวางแผนมีการดำเนินการมากที่สุด ปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดองค์การมีปัญหามากที่สุด ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนที่สำคัญ คือ บุคลากร โดยส่งผลทางบวก ได้แก่ บุคลากรมีศักยภาพสูง ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียน และส่งผลทางลบ ได้แก่ บุคลากรมีภาระงานอื่นมาก งบประมาณจัดซื้อสื่อ วัสดุและอุปกรณ์การฝึกปฏิบัติการเพื่อฝึกฝนทักษะต่างๆ มีน้อย และใช้วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ไม่คุ้มค่า
        2.  กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ที่พัฒนาขึ้นมี 9 กลยุทธ์ซึ่งผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า ความสอดคล้อง ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: กลยุทธ์/ การบริหารจัดการ/ ทักษะการคิดของนักเรียน

 

Abstract

        The purposes of this research were to study the conditions, problems, and management related factors for developing and evaluating the management strategies of the secondary school student’s thinking skill in the Secondary Educational Service Area Office 41. The data had given by education administrators, information officers, school administrators, teachers, expert and stakeholders. The tools were questionnaire which had IOC between 0.80-1.00 and reliability = 0.88, focus group discussion, interviewing, workshop, and connoisseurship. Data analyzed by using percentage, mean, standard deviation and content analysis.
        The findings were as follows:
        1. The management conditions to develop the secondary school student’s thinking skill in the Secondary Educational Service Area Office 41 had done most by planning. The whole problem image was at high level. In organizing had much more problems than the others. In management related factors to develop the student’s positive thinking skill were high potential personnel. They coordinated the student’s activities both internal and external areas. The negative factors were the personnel had plenty jobbed, less budget to buy the skill equipment, and less valued using proved new technology.
        2. The management strategies to develop the secondary school student’s thinking skill in the Secondary Educational Service Area Office 41 consisted of 9 strategies. The strategic evaluation had found that the consistency, suitability and utility assessment were at highest level, whereas the feasibility was at high level.         

Keywords: Strategy/ Management/ Student’s Thinking Skill

Article Details

How to Cite
มุสิกะปาน พ., พงศ์ภิญโญโอภาส ส., & นิธากร ร. (2015). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. Journal of Education and Innovation, 17(3), 21–31. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/39216
Section
Research Articles