การพัฒนาสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูสังกัดกรุงเทพมหานครโดยใช้แนวคิดการจูงใจ และการร่วมมือร่วมพลัง

Main Article Content

สุทธิพงศ์ บุญผดุง

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในการจัดการศึกษา ก่อนและหลังการใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลัง 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในการจัดการศึกษา หลังการใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลังกับเกณฑ์ร้อยละ 85 และ 3) ศึกษาเจตคติของครูที่มีต่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาหลังจากใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนาสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในการจัดการศึกษาโดยใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลัง 2) แบบประเมินสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษา และ 3) แบบวัดเจตคติของครูที่มีต่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired-Samples t test และ One-Sample t test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาหลังใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือ ร่วมพลัง สูงกว่าก่อนใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2. สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาหลังการใช้แนวคิดการจูงใจและการร่วมมือร่วมพลังไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. เจตคติของครูที่มีต่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับดี

จากการทำวิจัยในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการจูงใจ ARCS เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการเร้าและกระตุ้นความสนใจให้กับครูในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาตน รวมถึงการใช้แนวคิดการร่วมมือร่วมพลังเป็นแรงในการผลักดันให้งานที่ปฏิบัติบรรลุผลตามเป้าหมาย ส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพครูผู้สอนได้ตรงตามเจตนารมณ์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป

คำสำคัญ: สมรรถนะ/ การวัดและประเมินผล/ เจตคติ/ การจูงใจ/ การร่วมมือร่วมพลัง

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare the outcomes in terms of measurement and evaluation competency of the in-service teachers between before and after using the motivative and collaborative approach, 2) to compare the learning outcomes in terms of education administration of the in-service teachers between after using the motivative and collaborative approach and the target of 85%, and 3) to examine the in-service teachers attitude towards using the motivative and collaborative approach. Sixty-three in-service teachers from Nong Chok Pittayanusorn School were randomly selected as research samples. Instruments used for data gathering were 1) activities implementing motivative and collaborative approach for enhancing measurement and evaluation competency of the in-service teachers, 2) an assessment form for evaluating the competency in education administrative of the in-service teachers, and 3) an attitude questionnaire. The statistic used in this research were frequency, mean, standard deviation, paired-samples t test and one-sample t test.

The findings revealed that:

1.  the comparison of the pre- and post-outcome in terms of measurement and evaluation competency of the in-service teachers showed a highly statistically significant increase at 0.05;

2. the outcome in terms of education administration was not higher than 85% with the statistical significance of 0.05;

3. as for the attitude scale, the results obtained proved that the in-service teachers develop positive attitudes at the level of high towards using the motivative and collaborative approach to develop competencies in measurement and evaluation and education administration.

The reflection of this research portrayed that the ARCS was of a great assistance to gain interest and motivate the informants’ desire for self development and the collaborative approach was also a supportive factor for mutual goal achievement, consequently, the association of these approaches was able to contribute to the teacher performance leverage according to the expectation of the society and the nation’s expectation.

Keywords: Competency/ Measuring and Evaluating/ Attitude/ Motivation/ Collaboration

Article Details

How to Cite
บุญผดุง ส. (2015). การพัฒนาสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูสังกัดกรุงเทพมหานครโดยใช้แนวคิดการจูงใจ และการร่วมมือร่วมพลัง. Journal of Education and Innovation, 17(4), 14–25. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43733
Section
Research Articles