รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

Main Article Content

วิชิต แสงสว่าง
นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยได้สร้างแบบสัมภาษณ์ขึ้นเอง ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งยินดีให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย และแบบลูกโซ่ (Snowball Technique) โดยการบอกต่อจากผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสรุปความและเทียบเคียงกับทฤษฏีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งการเรียนรู้

ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา เสนอเป็น POT MODEL (Tentative) หรือ (ร่าง) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 มิติ ดังนี้ คือ 1) มิติด้านคน (P = People Dimension) 2) มิติด้านองค์การ (O = Organizational Dimension) และ 3) มิติด้านเทคโนโลยี (T = Technology Dimension) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณด้านการเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนให้โรงเรียนทุกแห่งอย่างเป็นธรรมตามความต้องการแท้จริงของโรงเรียน และช่วยจัดหาครูภาษาอังกฤษมาจากส่วนกลางแทนที่จะให้โรงเรียนจัดหาเอง

คำสำคัญ: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้/ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา/ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

Abstract

The purpose of this study was to identify a Human Resource Development in Learning Organization model to enter the ASEAN Community of Secondary School, Chachoengsao Province in Thailand. A qualitative research design, with an in-depth interview technique was used in this study. The interview guide was created by researcher follow by Patton Guide. The participants were 12 secondary school directors who were available to provide data. Data were collected through purposive sampling, using a snowball technique. The data was classified and interpreted before being concluded based on the Human Resource Development and Learning Organization theory.

The findings of the study indicated that POT model (tentative) was proposed. There were three dimensions of the Human Resource Development in Learning Organization model to enter the ASEAN Community of Secondary School: 1) People dimension; 2) Organization dimension; and 3) Technology dimension. These results were presented as a draft guideline for a Human Resource Development in Learning Organization model to enter the ASEAN Community of Secondary School, Chachoengsao Province. Recommendation from the result of the study was that the Ministry of Education should allocate sufficient budget for secondary school as well as to recruit English teachers from the central authority instead of to recruit by the schools.

Key words: Human Resource Development/ Learning Organization/ Secondary School

Article Details

How to Cite
แสงสว่าง ว., & วงศ์ประสิทธิ์ น. (2015). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย. Journal of Education and Innovation, 17(4), 26–39. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43734
Section
Research Articles