การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมือง สำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ

Main Article Content

กนกวรรณ อุ่นใจ
วารีรัตน์ แก้วอุไร
ปกรณ์ ประจันบาน
ภูฟ้า เสวกพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ ในด้านการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง การเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม การพัฒนาหลักสูตร เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและกำหนดองค์ประกอบของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร เป็นการนำหลักสูตรไปใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 21 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม 5 ขั้นตอน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรโดยประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรโดยผู้เรียนและหุ้นส่วนชุมชน ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตร ในด้านการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง พบว่า ชุมชนต้องการให้ชุมชนสงบเรียบร้อย คนในชุมชนเป็นคนดี ต้องการพัฒนาให้ชุมชนเจริญขึ้น ความเป็นพลเมืองที่มีรับผิดชอบ ประกอบด้วย ความรับผิดชอบส่วนบุคคลและความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และพบแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพสูงรูปแบบหนึ่งคือการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมโดยเชื่อมโยงกับหลักสูตรในระบบและการสอนในชั้นเรียน กระบวนการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม มีองค์ประกอบ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 2 การวางแผน ขั้นที่ 3 การกระทำ ขั้นที่ 4 การสะท้อน ขั้นที่ 5 การแสดงผลและการเผยแพร่

2. หลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมาและหลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างหลักสูตร 4) รูปแบบกิจกรรมและระยะเวลา 5) เนื้อหาสาระ 6) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและประเมินผล และผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบหลักสูตรมีความเหมาะสมและมีความสอดคล้องภายในอยู่ในระดับมาก นำหลักสูตรไปศึกษานำร่องโดยทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มเล็ก พบว่าหลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง

3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า

    3.1 นักเรียนมีความเป็นพลเมือง หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      

    3.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จากการสะท้อนการเรียนรู้โดยการประเมินตนเอง หลังการบริการในชุมชน โดยเชื่อมโยงกับความเป็นพลเมือง ผลการประเมินเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเกิดคุณลักษณะของความพลเมืองที่มีความรับผิดชอบทั้งความรับผิดชอบส่วนบุคคลและความรับผิดชอบต่อผู้อื่น

4. ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า

    4.1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก

    4.2 หุ้นส่วนชุมชนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก

    4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงถึงความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตร จากการที่ผู้เรียนสะท้อนความคิดความรู้สึกจากประสบการณ์การบริการด้วยการให้ผู้เรียนประเมินตนเอง แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรโดยมีความคิดและความรู้สึกเชิงบวก

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร/ ความเป็นพลเมือง/ การเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม/ เยาวชน

Abstract

This research aimed at developing a curriculum to enhance citizenship for Thai Youth focus on responsibility. This study was conducted through research and development methodology. There were four steps in curriculum development process. Step 1 Studying basic information of the education for citizenship, service-learning, curriculum development. Step 2 Constructing a curriculum and verifying curriculum with the concurrence of the experts in education and curriculum. Step 3 Implementing the curriculum with the sample group of 21 student form upper secondary school level, studying in 2014 at Maechaem School, Maechaem District, Chiang Mai Province which was selected by purposive sampling. Step 4 Evaluating the students’ and community partners’ satisfaction towards the curriculum. The results can be summarized as follows.

1.  The basic information for citizenship education was found that the community like to make a community order, people in the community are good people, community development needs to grow, the characteristics of a citizenship comprised 2 aspects; personal responsibility and responsibility to others. The five steps of service-learning; the first is ‘investigation’, the second is ‘planning’, the third is ‘action’, the fourth is ‘reflection’ and the last is ‘demonstration/celebration’.

2. The curriculum to enhance citizenship for Thai Youth on responsibility comprises of 8 elements, including rationale, objectives, structure, activities types, contents, learning process based on the five steps of Service-Learning, learning materials and learning resources, learning assessment. The instruction was applied by using five steps of the academic service-learning. The curriculum and supplementary documents were appropriate at high level.

3. The implementation of the curriculum was found that; 3.1) students’ citizenship score was 4.07, higher than 3.50 which was criterion score and with statistical significant at the level of .05, 3.2) qualitative data related to students’ change from the self-refaction offer service learning could present the student’s self-responsibility and responsibility to other.

4. The satisfaction of students and community partners who participated in the implementation was found that; 4.1) students’ satisfaction to developed curriculum was at the high level. 4.2) the community partners’ satisfaction to developed curriculum was at the high level, 4.3) the effect of qualitative data reflect to students’ satisfaction to developed curriculum at the positive thinking and feelings.

Keywords: Curriculum Development/ Citizenship/ Service-Learning/ Youth

Article Details

How to Cite
อุ่นใจ ก., แก้วอุไร ว., ประจันบาน ป., & เสวกพันธ์ ภ. (2015). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมือง สำหรับเยาวชนไทยด้านความรับผิดชอบ. Journal of Education and Innovation, 17(4), 40–51. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43735
Section
Research Articles