การศึกษารูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสม ตามบริบทของโรงเรียนกวดวิชา

Main Article Content

เกษลักษณ์ หาราชัย
พวงรัตน์ เกษรแพทย์
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสมตามบริบทโรงเรียนกวดวิชาและ 2) เสนอแนวทางในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยศึกษาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพมหานคร
2) ผู้ปกครองที่ส่งลูกหลานเรียนในโรงเรียนกวดวิชา 3) นักวิชาการด้านการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในสังคม และ 4) ผู้มีบทบาทในการกำหนด นโยบายของประเทศ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยทำการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 ท่าน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลของผู้ปกครอง จำนวน 635 ราย และผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชา จำนวน 398 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นข้อมูลทางชีวภาพ การวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสม ตามบริบทโรงเรียนกวดวิชา และแนวทางการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนกวดวิชา

ผลการวิจัย พบว่า 

1.  รูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสม ตามบริบทโรงเรียนกวดวิชามี
6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร 2) นโยบายขององค์กร ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม 3) แผนงานการจัดทำกิจกรรมความ รับผิดชอบต่อสังคม ในแต่ละปีที่มีความชัดเจน 4) การจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดกิจกรรม 5) การมอบหมาย ความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้แก่บุคลากร/ หน่วยงาน 6) การมีส่วนร่วม ของผู้ปกครอง นักเรียน ในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนกวดวิชา

2. แนวทางการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนกวดวิชาสามารถแบ่งประเภทกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้

    2.1  แบ่งตามประเภทของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ 1) การสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหา 2) การสร้างกิจกรรมทางการตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหา 3) กิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมในเด็กและเยาวชนโดยใช้กิจกรรมทางศาสนา 4) กิจกรรมการบริจาคเพื่อการกุศล 5) การสร้างกิจกรรมอาสาช่วยเหลือชุมชน 6) การสร้างกิจกรรมเพื่อการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม

    2.2 แบ่งตามประเด็นของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ 1) ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ด้านสุขภาพ 3) ด้านสังคม 4) ด้านการศึกษา 5) ด้านการบริหารจัดการ และ 6) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

คำสำคัญ:  การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม/ โรงเรียนกวดวิชา

Abstract

For this research study, the following objectives have been set by the researcher:
1) to study appropriate forms of social responsible activities in the context of tutor schools, and 2) to present guidelines in the conduct of the social responsible activities. Samples are divided into 4 groups: 1) Administrators of tutor schools in the Bangkok Metropolis. 2) Parents and governors who enroll their offspring in tutor schools. 3) Educators who are recognized by the society, and
4) Those with the role of setting national policies. The researcher conducted both qualitative and quantitative studies, by interviewing 8 key informants, and using questionnaires to collect data from 635 parents and governors and 398 administrators of tutor schools. Research tools used in this research study were interview forms and questionnaires. 

The study results can be summarized as follows;

1.  The appropriate forms of social responsible activities in the context of tutor schools have 6 components, namely, 1) Administrator’s vision, 2) Policies of agencies related to social responsible activities, 3) Clear annual work plans for social responsible activities, 4) Budget allocations for such activities, 5) Clear delegation of responsibilities among personnel/ units,
6) Participation of parents and governors as well as students in social responsible activities of tutor schools.

2. The presentation of guidelines in the conduct of social responsible activities by tutor schools can be broken down into 2 main parts which are as the followings;

    2.1 The types of CSR activities which are 1)  the creation of activities to promote awareness of social problems, 2) the creation of marketing activities with a view to solve problems, 3) the promotion of ethics and morality in children and youth through religious events, 4) the creation of activities of donations to charities, 5) the creation of activities of community volunteering, and 6) the creation of socially responsible business practices.

    2.2 The guidelines in the conduct of social responsible activities classified by issues aspects, namely: 1) environment, 2) health, 3) social, 4) education and academics, 5) management and administration, and 6) consumer protection.

Keywords: Corporate Social Responsibility (CSR)/ Tutorial Schools

Article Details

How to Cite
หาราชัย เ., เกษรแพทย์ พ., & เกษมเนตร ล. (2015). การศึกษารูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสม ตามบริบทของโรงเรียนกวดวิชา. Journal of Education and Innovation, 17(4), 127–136. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43746
Section
Research Articles