การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย โดย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันลอการิทึม ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย จำนวน 6 ชุด ตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และหาดัชนีประสิทธิผล โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 21 คน และขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย มีค่าเท่ากับ 0.6099 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยในระดับมาก
คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย/ ดัชนีประสิทธิผล
Abstract
This research was a Research and Development. The objectives of this research were 1) to construct and find the effectiveness index of the inductive learning activities packages on Logarithmic function for Matthayomsuksa V students, 2) to experiment the inductive learning activity package 2.1) to compare learning achievement between pre-test and post-test by using the inductive learning activity packages, 2.2) to compare learning achievement post-test with criterion 70 percentages, and 3) to study for students satisfaction towards the inductive learning activity packages. The study was divided into
3 steps. Step 1: Constructing and finding the effectiveness index Inductive learning activities packages total of 6 packages and examining the suitability by experts and finding the effectiveness index of the inductive learning activity package form 9 students, who studied on the first semester of the academic year 2013 at Matthayompaklang School.
Step 2: Experimenting the inductive learning activity packages with 21 students, who studied on the first semester of the academic year 2013 at Matthayompaklang School.
Step 3: Studying students satisfaction towards the inductive learning activity packages. The results of study were; the inductive learning activity packages were suitability at the highest level, the effectiveness index of the inductive learning activity packages was 0.6099,
the students’ achievement of post-test was higher than pre-test, at.05 level of significance, and students’ achievement were higher than criterion 70 percentage and at the .05 level of significance and students satisfaction towards the learning activities packages was at high level.
Keywords: Inductive learning Activities packages/ Effectiveness Index
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.