ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงกับพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 และ 2) เพื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์ที่ดีและสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 150 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) โดยประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้
G* Power version 3.1.9 ที่ระดับ 0.5 Power of test ที่ 0.95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือวัดพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์แห่งตน การมุ่งอนาคต การอบรมเลี้ยงดู แบบอย่างพฤติกรรมพอเพียง การรับสื่อและเทคโนโลยี และแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงกับพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่าง -0.020 - 0.599 และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงที่สุดคือ คือ ปัจจัยด้านมุ่งอนาคต (rxy= 0.599) รองลงมาปัจจัยด้านแบบอย่างพฤติกรรมพอเพียง (rxy= 0.502) และต่ำที่สุดคือ ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (rxy= -0.002) มีความสัมพันธ์พหุคูณ (R) กับพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงเท่ากับ 0.692 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 47.9 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.457
2. ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านมุ่งอนาคต (x1) ปัจจัยด้านการรับสื่อและเทคโนโลยี (x2) และปัจจัยด้านอัตลักษณ์แห่งตน (x5) ส่งผลต่อพฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.686 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 47.0 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.413 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้
=1.139+0.288
+0.242
+0.177
=0.339
+0.368
+0.208
คำสำคัญ: ปัจจัย/ พฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the relationship between factors affecting on sufficient behavior and sufficient behavior of Matthayomsuksa 3 students, and 2) to find the best prediction variable and create the predicted equation of sufficient behavior of Matthayomsuksa 3 students under the secondary educational service area office 40. The sample consisted of 150 Matthayomsuksa 3 students in semester II academic year, 2013 by using Multi-stage sampling. Estimate a sample size Using with G*power version 3.1.9, level 0.5, power of test at 0.95. The instrument was the sufficient behavior rating scales; 5 sides; self-identity, future orientation, parenting, sufficient behavior model, receiving media and technology and knowledge and understanding about the sufficiency economy test. The data was analyzed by Pearson product-moment correlation coefficient, multiple correlation coefficients (R) using Stepwise Multiple Regression Analysis technique.
1. The correlation coefficients between variables and sufficient behavior of Matthayomsuksa 3 students founded the correlation coefficients ranged from -0.002 to 0.599. The highest level of factor related to sufficient behavior of Matthayomsuksa 3 students was future orientation (rxy= 0.599). The second level was sufficient behavior model (rxy= 0.502) and the lowest level was knowledge and understanding about the sufficiency economy
(rxy= -0.002). The Multiple correlation coefficients (R) and sufficient behavior was at 0.692. The predictive power was at 47.9 percent and a standard error of prediction was at 0.457.
2. The analysis of Stepwise multiple regression analysis of factors affecting on sufficient behavior of Matthayomsuksa 3 students was at the level of significance of 0.01 with 3 predictors; future orientation (x2), receiving media and technology (x5) and self-identity (x1) affected on sufficient behavior of Matthayomsuksa 3 students with the Multiple correlation coefficient (R) was at 0.686 and the predictive power was at 47.0 percent, a standard error of prediction was at 0.413. They could be written in the forms of equation
() and (
) as follows.
Raw Score Regression Equation:
=1.139+0.288
+0.242
+0.177
Standard Score Regression Equation:
=0.339
+0.368
+0.208
Keywords: Factors/ Sufficient behavior
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ