การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พิริยา สีสด
เนติ เฉลยวาเรศ
ทรงศรี ตุ่นทอง

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนหน้าพระลาน (พิบูลสงเคราะห์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้อง มีจำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสอบถาม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.887 5) แบบทดสอบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.831 6) แบบสอบถามเจตคติต่อหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.780 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา 

ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลักสูตรประกอบด้วย ความสำคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โครงสร้าง เนื้อหาสาระ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม กระบวนการและวิธีการฝึกอบรมสื่อประกอบการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล ซึ่งมีความสอดคล้องและเหมาะสม
2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังการฝึกอบรม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์/ การวัด

Abstract
The purposes of this research were1) to develop training curriculum to enhancing mathematical skills and processes on the measurement, and 2) examine training curriculum to enhancing mathematical skills and processes on the measurement. The samples in the research consisted of 35 Matthayomsuksa 2/2 students at Naphra Lan School (Phibun Songkraw) in the First semester, Academic Year 2014, obtained by simple random sampling by drawing lots of the classroom. The instruments used in this study were as follows: 1) Training curriculum to enhancing mathematical skills and processes on the measurement,
2) interviews, 3) questionnaires, 4) Learning achievement test with the reliability of 0.887, 5) the test on mathematical skills and processes with a reliability of 0.831, 6) the attitude questionnaire on the training curriculum with the reliability of 0.780. The Data were analyzed by standard deviation, t-test, and content analysis.

The findings were as follows:
1. The results of training curriculum development to enhancing mathematical skills and processes on the Measurement for Matthayomsuksa 2 students found that the training curriculum consisted of a primary importance, the principles, aims, the trainee, structure, content, the duration of training, processes and training methods, training media, measurement and evaluation, and 12 programmes for management training activities which was consistent and appropriate.
2. The results of using training curriculum to enhancing mathematical skills and processes on the Measurement for Matthayomsuksa 2 students were as follows: 1) the students had learning achievement in mathematics after using the curriculum higher than before using the curriculum with statistical significance at the .01 level, 2) Matthayomsuksa 2 students have mathematical skills and processes after training higher than the criteria at the 70 percent with statistical significance at the .01 level, 3) students had attitudes towards training curriculum to enhancing mathematical skills and processes on the Measurement for Matthayomsuksa 2 students at the high level, and 4) training curriculum improvement in terms of skill training forms should have an answer after each programme of management training activities, and it should be documented and distributed to students after solving problems of the training form in performing training activities so that students can review the method to find the correct answers by themselves.

Keywords: Skills and Mathematical Thinking Processes/ Measurement

Article Details

How to Cite
สีสด พ., เฉลยวาเรศ เ., & ตุ่นทอง ท. (2015). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Education and Innovation, 17(4), 166–176. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43751
Section
Research Articles