การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุธัญญา วรนัยพินิจ
ปราโมทย์ จันทร์เรือง
เนติ เฉลยวาเรศ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ 3) ทดลองใช้หลักสูตร 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทุ่งโพวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ 2) แบบสัมภาษณ์
3) แบบสอบถาม 4) แบบทดสอบวัดการให้เหตุผลเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และด้านความรับผิดชอบ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.775 5) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ
6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.751 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบที

ผลการวิจัย พบว่า

1.  การศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากการสอบถามนักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบขึ้น เนื่องจากโรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อมต่อการทำหน้าที่โดยตรงในการหล่อหลอม กล่อมเกลา และปลูกฝังพัฒนาเด็กและเยาวชนและประชาชนในชาติ เนื้อหาที่ต้องการให้พัฒนาในเรื่อง ระเบียบวินัย เกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่โรงเรียนกำหนดขึ้น เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการควบคุม และส่งเสริมพฤติกรรมของเด็กให้ปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุขของโรงเรียน และเพื่อพัฒนานิสัยที่ดีงามให้เกิดขึ้นและติดตัวเด็กต่อไป เช่น การแต่งเครื่องแบบอย่างถูกต้อง ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่ทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาทจนแตกความสามัคคี การเข้าคิวก่อน-หลัง การทิ้งขยะให้ลงถัง และตรงต่อเวลา เป็นต้น และเรื่องความรับผิดชอบ ให้เน้นความรับผิดชอบที่ตนเองได้กระทำลงไป เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ไว้ใจได้สามารถทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความพากเพียรพยายาม และความละเอียดรอบคอบ รวมทั้งรู้จักบทบาทหน้าที่ของตน ยอมรับผลการกระทำของตนทั้งในด้านที่เป็นผลดีและผลเสีย ทั้งพยายามปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

2. ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ฉบับร่าง) ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ขอบข่ายของเนื้อหา ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม กระบวนการและวิธีการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม การวัดผลและประเมินผล และแผนการจัดกิจกรรมฝึกอบรม ส่วนการประเมินหลักสูตรฉบับร่าง พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความสอดคล้องและเหมาะสม

3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับนักเรียนโรงเรียนทุ่งโพวิทยา อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 30 คน ดำเนินการจัดกิจกรรมฝึกอบรม ตามแผนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม 20 แผน การสังเกตพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมและมีความตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมการเรียน และมีความสุขในการเรียน

4. ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า นักเรียนมีคะแนนการให้เหตุผลเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีพฤติกรรมด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก การปรับปรุงหลักสูตร โดยเวลาให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับเนื้อหา ซึ่งในแผนการจัดกิจกรรมฝึกอบรมที่ 3 เวลาที่มีคุณค่า ใช้เวลาเพิ่มขึ้นจาก 1 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง 30 นาที

คำสำคัญ: หลักสูตรฝึกอบรม/ คุณธรรมจริยธรรม/ ระเบียบวินัย/ ความรับผิดชอบ

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the basic information of curriculum development, 2) to develop training curriculum on ethics, discipline, and responsibilities, 3) the trial curriculum, 4) the evaluation and curriculum improvement. The samples in this study consisted of  30 Matthayomsuksa 1 students at Thung Pho Withaya School in the First semester, Academic Year 2014, obtained by simple random sampling by randomly one school, which was Thung Pho Witthaya School, and one classroom was determined by drawing lots. The instruments used in this study were as follows: 1) Training curriculum on virtue, ethics, discipline, and responsibilities, 2) interviews, 3) questionnaires, 4) achievement test with the reliability of 0.775, 5) the behavior observation form of the discipline, and responsibilities, and 6) the satisfaction questionnaire towards the training curriculum with the reliability of  0.751.  Data were analyzed by standard deviation, content analysis, and t-test.    

The findings showed that:

1.  A Study on the basic information from asking students and related people have the need to develop training curriculum on ethics, discipline and responsibilities because the school environment is ready to act directly on teaching, training, and fostering children and youth and people in the country. The content that was needed to develop in the discipline of school rules or regulations that the school established to practice in controlling and supporting children's behavior to follow for the peace of the school, and to develop good habits, and stick to the children further, such as dressing uniforms properly, do not abuse the rights of others, do not quarrel or engage in quarrel until breaking the harmony, queuing before-after, dropping the litter into the trash bin, and being on time, etc., and responsibility to emphasize their responsibility to act, being honest, be able to trust, and act as delegated efficiently with persevere and handiness, including knowing their roles, accepting the consequences of their actions in both good and bad results, and trying to improve their performance for the benefits of themselves and the society.

2. The results of curriculum development found that training curriculum development on virtue and ethics, discipline and responsibilities for Matthayomsuksa 1 students  (draft) consisted of the principles, aims, properties of the trainee, scope of the content, the duration of training, processes and training methods, training media, training measurement and evaluation, and 20 programmes for management training activities.  For draft programme assessment, it was found that the draft training course with the consistency index value of 1.00, and is consistent and appropriate.

3. The results of trial training curriculum on  moral discipline and ethics, discipline and responsibility for Matthayomsuksa 1 students with 30 students at Thung Pho Witthaya School in Nong Chang District, Uthai Thani province by holding training activities according to 20 programmes of training activities.  The observation of student behavior found that students are more interested in activities with the intention to perform learning activities, and have fun in learning.

4. The results of evaluation and improvement of curriculum found that  students with scores of moral reasoning discipline and responsibilities after training than before training at a statistically significant level .01. The students behavior in the aspects of disciplines and responsibilities after training higher than the criteria at the 80 percent with statistical significance at the .01 level, and students were satisfied with training curriculum on virtue, ethics, discipline, and responsibility at the high level ( = 4.37, S.D. = 0.63). For improvement of the curriculum by providing flexible hours to be appropriate with the content, the third programme for training activities took the time increased from 1 hour to 1 hour 30 minutes.

Keywords:  Training Curriculum/ Virtue/ Ethics/ Discipline/ Responsibilities

Article Details

How to Cite
วรนัยพินิจ ส., จันทร์เรือง ป., & เฉลยวาเรศ เ. (2015). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม คุณธรรมจริยธรรม ด้านระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Education and Innovation, 17(4), 177–187. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/43752
Section
Research Articles