การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 18 สู่โรงเรียนคุณภาพ

Main Article Content

ณิชชา คงรัตน์
สมชัย วงษ์นายะ
เรขา อรัญวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของโรงเรียนคุณภาพสังกัดเทศบาล 2) ศึกษาสาเหตุที่ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล 3) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาล 4) พัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาล และ5) ประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาลในกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 18 สู่โรงเรียนคุณภาพ
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และใช้การประเมินกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของโรงเรียนคุณภาพสังกัดเทศบาล มี 4 ด้านคือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน 2) ด้านการเรียนการสอน
3) ด้านการบริหารจัดการศึกษา และ 4) ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ และโรงเรียน มีการปฏิบัติตามองค์ประกอบ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการศึกษา

2. สาเหตุที่ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล มีสาเหตุมาจากความไม่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน และพื้นฐานทางครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาล

3. สภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาล ดังนี้
3.1 สภาพการดำเนินงาน 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนโดยจัดทำหลักสูตร
จัดกิจกรรม/โครงการ ให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นของหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการสอน ครูศึกษาข้อมูลนักเรียนเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3) ด้านการบริหารจัดการศึกษา มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานในองค์กรโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและ 4) ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงาน การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน
3.2 ปัญหาการดำเนินงาน 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้ครบถ้วนตามแผนงาน/โครงการที่วางไว้ 2) ด้านการเรียนการสอน ครูออกแบบการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับผู้เรียน 3) ด้านการบริหารจัดการศึกษา การกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานไม่ชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติน้อย และ 4) ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด และบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมีน้อย
3.3 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เรียน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวัฒนธรรมในองค์กร ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ กฎหมายการเมือง และอำนาจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4. กลยุทธ์การดำเนินงาน ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นได้ 14 กลยุทธ์ 25 ตัวชี้วัด และ 81 มาตรการ

5. ผลการประเมินกลยุทธ์ ในด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ระดับมาก และมากที่สุด

คำสำคัญ: การพัฒนา/ กลยุทธ์/ ยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาล/ โรงเรียนคุณภาพ

DEVELOPING OPERATION STRATEGIES TO UPGRADE THE QUALITY OF MUNICIPALITY SCHOOLS UNDER LOCAL EDUCATIONAL GROUP 18

Abstract
The purposes of this research were to study the elements of quality municipal schools, find the reasons that parents did not prefer to send their children to study in municipal schools, study the problems and factors related to the operation to upgrade the quality of municipal schools, develop the mission strategy for upgrading the municipal schools, evaluate the strategy for upgrading the municipal schools under Local Educational Group 18.The data were collected by document analysis, an questionnaire, an interview, a group discussion, an in-depth interview with the experts, and strategic evaluation. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and content Analysis. The results showed that :

1. There were the elements of quality municipal schools were found 4 factors; 1) Quality of students 2) Teaching and learning method 3) Educational management 4) Learning community development in which the highest mean educational management.

2. The results from the study of the reasons that parents did not prefer to send their children to study at the municipal schools were; they were doubtful in the management of school administrators, learning management of teachers, as well as the family background of students in the municipal school.

3. As for the conditions. First, the operation consisted of 4 factors: quality of students – schools focusing on the quality of students by conducting the programs, activities, projects according to the necessary skills of the core curriculum. Second, information was studied to focus on learning skill development with preferred virtue and morality. Third, there was planning on educational quality development and administrational system inside the organization which regular people can join. Fourth, there was a found that learning network of teachers, parents and community were set. In terms of operation problems, first it was found that the school could not completely perform development as planned. Second, teachers designed inappropriate instruction to the students. Third, the objectives in proceeding job were not clear leading to fever performing tasks. Fourth, it was found that there was a little of supporting form the original affiliation. Moreover there was a few knowledgeable staff in learning community development. As for the factors, the internal ones were school administrators, teachers, students, budget, learning material, and organizational culture. Also, the external factors were social and culture, technology, economy, political law, and power stakeholders.

4. In terms of the strategy, vision, mission, strategy issue, goal, strategy, indicator and measure should be implemented. There should be 14 strategies, 25 indicators and 81 measures.

5. The results that the evaluation on the consistency, the suitability, the possibility,
the benefit were at a showed high and highest levels.

Keywords: Development/ Strategies/ Upgrading Municipal School/ Quality School

Article Details

How to Cite
คงรัตน์ ณ., วงษ์นายะ ส., & อรัญวงศ์ เ. (2016). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 18 สู่โรงเรียนคุณภาพ. Journal of Education and Innovation, 18(1), 42–53. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/54761
Section
Research Articles