กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

คณะนักศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคงสำห สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ 2
ธาวิน อัครเมธายุทธ
สุทัศน์ คร่ำในเมือง
พิธาน พื้นทอง

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย 1) การสอบถามผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต 2) การสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การสังเคราะห์การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการของหน่วยงานในประเทศ และ 4) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาจัดทำเป็นกลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เพื่อสอบถามความคิดเห็นและตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินกลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 ไปสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 105 คน
ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ รองลงมา ด้านวางแผนนโยบายในการจัดกิจกรรมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ด้านจัดองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ด้านการจัดการเรียนรู้สู่การมีค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการในสถานศึกษา ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อฝึกให้มีค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ และด้านการใช้สื่อในการสร้างจิตสำนึกเรื่องค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ส่วนการศึกษาแนวทางในการพัฒนาค่านิยมหลัก จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน การสร้างความตระหนักด้วยวิธีการต่างๆ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม และการสร้างความเข้มแข็งในการกำกับและติดตามการดำเนินงานของคนไทย 12 ประการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า การขับเคลื่อนมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ การนำเข้าสู่การ

2. การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กลยุทธ์ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ 10 กลยุทธ์ย่อย 41 โครงการ ดังนี้ 1) กลยุทธ์ที่ 1 รณรงค์สร้างความตะหนัก รับรู้คุณค่าของค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการแก่ครู บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ย่อย 15 โครงการ 2) กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย 10 โครงการ 3) กลยุทธ์ที่ 3 บูรณาการขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย 12 โครงการ และ 4) กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มศักยภาพในการกำกับ ติดตามและการวัดผลประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ย่อย 4 โครงการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสม

3. การประเมินการพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: กลยุทธ์/ ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ/ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

STRATEGIES FOR DRIVING 12 NATIONAL CORE VALUES INTO PRACTICE IN BASIC EDUCATION SCHOOLS

Abstract
The research, characterized as research and development, has three objectives: 1) to study the state and operation of the development of 12 National Core Values in basic education schools, 2) to develop strategies for driving 12 National Core Values into practice, and 3) to evaluate the strategies for driving 12 National Core Values into practice. The research procedure follows 3 steps: step 1-studying present state of the development of 12 National Core Values in schools through the following methods: 1) surveying the opinions of administrators and teachers in charge of “Upright School” Project, 2) Synthesizing related documents, 3) synthesizing policies and ways of practice on the development of 12 National Core Values in the Government agencies, and 4) interviewing 8 purposely selected experts; step 2-constructing strategies for driving 12 National Core Values into practice, by synthesizing the results of the research in step 1. The drafted strategies were validated for the appropriateness through focus group discussion of 10 experts; step 3-evaluating the constructed strategies for driving 12 National Core Values into practice through the opinions of the sample of 105 school administrators. Research results;

1. The state of the development of 12 National Core Values in basic education schools, as a whole, was perceived at a high level. Taken individual domain of the development into consideration, all domains of the development could be ranked in order of the practice as follows: Managing environments favorable for conducting activities to develop 12 National Core Values, policy setting and planning on managing activities on the 12 National Core Values, organizing to increase the efficiency in the development of the 12 National Core Values, learning management to cultivate the 12 National Core Values in basic education schools, building up collaborative networks to cultivate the 12 National Core Values, and utilizing media to raise the consciousness in the 12 National Core Values of the Thai people. As for the study on ways of developing the 12 National Core Values in basic education schools, it was found that The principal driving strategies are: integrating the 12 National Core Values into teaching and learning activities in classroom, building up the awareness through a variety of methods, encouraging and broadening participation from all societal sectors, and mustering up the strength to monitor and follow up the operation.

2. The development of 12 National Core Values in basic education schools, produced 4 strategies,10 sub-strategies, and 41 projects as follows: 1) strategy 1-campaigning for building up the realization of the significance of 12 National Core Values in teachers, personnel, and those involved, which consists of 2 sub-strategies and 15 projects; 2) strategy 2-building up the strength of cooperation network and sustainable participation from all societal sectors, in developing 12 National Core Values of Thai people, which consists of 3 sub-strategies and 10 projects; strategy 3-integrating the driving of 12 National Core Values into teaching and learning in classroom, which consists of 3 sub-strategies and 12 projects; strategy 4-increase the potential in monitoring, following up and evaluating the operation of the driving of 12 National Core Values, which consists of 2 sub-strategies and 4 projects.

3. The evaluation of strategies for driving 12 National Core Values into practice yielded the result at the high level of possibility.

Keywords: Strategy/ 12 National Core Values/ Basic Education Schools

Article Details

How to Cite
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ 2 ค., อัครเมธายุทธ ธ., คร่ำในเมือง ส., & พื้นทอง พ. (2016). กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 18(1), 54–66. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/54762
Section
Research Articles