การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ระย้า คงขาว
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
เอื้อมพร หลินเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน2)เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษากระบวนการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่านโดยใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการยกร่างรูปแบบการนิเทศ แล้วจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ หลังจากนั้นจึงได้ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนและครู 10 คน โดยใช้แบบประเมินรูปแบบการนิเทศ แบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นจึงได้ปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลได้แก่ครูที่สมัครเข้าร่วมดำเนินงานจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ส่วนแบบประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแหล่งข้อมูลได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 40 คน โดยใช้แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยกาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษากระบวนการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า หลักการนิเทศการศึกษาต้องใช้ความเป็นประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม มีการติดตามอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจอย่างหลากหลายและเหมาะสม โดยใช้ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านทรัพยากรและปัจจัยด้านการบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ ส่วนแนวทางกิจกรรมหรือกระบวนการนิเทศ ควรเป็นการนิเทศแบบชี้แนะ เพื่อช่วยเหลือครูในการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงหลักสูตร ปรับปรุงการสอน และปรับปรุงการวัดและประเมินผลผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย 1) การสำรวจเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ (เปิดใจ) 2) การวางแผนการนิเทศ (ร่วมใจ) 3) การปฏิบัติการนิเทศ (ตั้งใจ เต็มใจ) 4) การประเมินผลการนิเทศ (ชื่นใจ)

2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า รูปแบบการนิเทศมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ร่วมสร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 ร่วมรวมพลังค้นหา ขั้นที่ 3 ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ขั้นที่ 4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนา ขั้นที่ 5 ร่วมเผยแพร่สู่มวลชน ซึ่งผลการประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองรายการ ส่วนผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูผู้สอนเกิดเจตคติที่ดี และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน มีการระดมความคิดและสามารถกำหนดหัวข้อการวิจัยพร้อมระบุเหตุผลและความสำคัญ วัตถุประสงค์ และสมมติฐานของการวิจัยได้ และสามารถทำผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเองและเผยแพร่แก่สื่อมวลชนได้เป็นอย่างดี

3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: รูปแบบการนิเทศ/ การเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน/ ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

THE DEVELOPMENT OF SUPERVISION MODEL TO ENHANCE THE RESEARCH COMPETENCY FOR LEARNING DEVELOPMENT OF TEACHERS IN BASIC EDUCATION

Abstract
This research has the main objective in develop the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education. It has specific objectives as follows: 1) to study the supervision process to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education, 2) to create and check the quality of supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education, 3) to study to the outcome of using the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education, and 4) to evaluate the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education by having 4 research methods as follow: step 1 – study the supervision progress to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education by interviewing 9 distinguished specialists with structured questions and analyzing the data, step 2 – create and check the quality of the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education by developing the supervision model handbook After that, the quality is checked by a distinguished specialists and 10 teachers by using the supervision model evaluation. There are 5 levels for evaluation in analyzing average value and standard deviation value. The development of supervision model will be done after, step 3 – study the outcome of using the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education and the data source is from 40 attending teachers. The instrument used is the multiple-choice exam testing the research knowledge in class. The classroom research evaluation is value approximation type analyzing data by finding average value and standard deviation value, and step 4 – evaluate the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education by 40 teachers and the value- approximation-type evaluation used to analyze data by finding average value and standard deviation value. The research finding found that:

1. The finding of the study of the supervision progress to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education found that the direction of a good supervision is effective and appears to be the most efficient in progress should be the supervision that is democratic and contains continued follow-up, variety of suitable encouragement creation. These should come from staff factor, process factor, resource factor, and effective management factor.
Activity pathway or supervision progress should be a guideline supervision in order to help teachers in their self-development and self-improvement, curriculum improvement, teaching improvement, and learner’s evaluation improvement by having 1)the investigation of current problem and needs (open-minded) 2) supervision plan (cooperative) 3) supervision practice (intentionally and willingly) 4) supervision evaluation (pleased).

2. The outcome of the creation and the checking of quality of the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education found that there are 5 steps in supervision: step 1 is realization creation, step 2 is discovery power, step 3 is mutual development, step 4 is knowledge exchange towards the development, and step 5 is publicizing to mass people. The evaluation on the supervision model and supervision handbook is appropriate in the excellent level.

3. The outcome of the study the use of the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education found that teachers ae knowledgeable, comprehensive on classroom research after the development period in the significant level of .05 as well as they are able to conduct classroom research appropriately in excellent level.

4. The outcome of evaluation of the supervision model to enhance the research competence for learning development of teachers in basic education found that it is appropriate in the excellent level.

Keywords: The Supervision Model/ The Enhancement of the Research Competency for Learning Development/ Teachers in the Basic Education

Article Details

How to Cite
คงขาว ร., สิทธิสมบูรณ์ ม., & หลินเจริญ เ. (2016). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 18(1), 74–82. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/54764
Section
Research Articles