อนาคตภาพหลักสูตรพลเมืองศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2565)

Main Article Content

นิรมล ตู้จินดา
อุษา คงทอง
สุธี พรรณหาญ
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและนำเสนออนาคตภาพหลักสูตรพลเมืองศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555–2565) ด้วยกระบวนการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านพลเมืองศึกษา จำนวน 24 คน และบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านพลเมืองศึกษา จำนวน 363 คน จากทั่วภูมิภาคของประเทศ ระยะที่ 2 การสร้างภาพอนาคตหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรพลเมืองศึกษาโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรพลเมืองศึกษาจำนวน 5 คน วิธีการศึกษาด้วยเทคนิควิจัยแบบ EDFR วงล้ออนาคตและผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มเหตุการณ์ ผลการศึกษาได้ร่างภาพอนาคตหลักสูตรพลเมืองศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 – 2565) (ฉบับร่าง) ในด้านปรัชญาของหลักสูตร เน้นการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาจริยธรรมบุคคล การสร้างความเป็นพลเมืองที่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้สอดคล้องกับบริบทสังคม ก้าวสู่ความเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และพลโลก ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ด้านคุณลักษณะผู้เรียน เป็นคนมีประสิทธิภาพ เคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น มีทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ซื่อตรงมีจิตสาธารณะ รู้จักคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจจากข้อมูลที่หลากหลาย สามารถนำความรู้ไปพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติแบบยั่งยืน ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองที่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะในการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน ชุมชน มีทักษะความคิดอย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความแตกต่างทางความคิดให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้านรูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร จัดบูรณาการการเรียนการสอนกับจัดกิจกรรมที่มีความเป็นรูปธรรมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะชีวิตอย่างเต็มศักยภาพทุกด้าน จัดรายวิชาเพื่อสร้างจิตสาธารณะในการแก้ปัญหาสังคม ด้านสาระการเรียนรู้ จัดสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมแต่ละระดับชั้น โดยระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น เน้นการรู้จักตนเอง ครอบครัว ท้องถิ่น ความรู้พื้นฐานต่างๆ ของสังคมโลก หน้าที่คุณลักษณะของความเป็นพลเมือง หลักการพึ่งตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เน้นการรู้เข้าใจ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว โรงเรียน และสังคม เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้าน เข้าใจการเมืองระดับท้องถิ่น เคารพความคิดเห็นต่าง เคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เน้นการรู้ เข้าใจสิทธิหน้าที่ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ มีสำนึกความเป็นพลเมือง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เรียนรู้วัฒนธรรมไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นการเรียนรู้หลักกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพสากล ความรับผิดชอบของพลเมืองต่อสังคมระดับชาติ การเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน และนานาอารยประเทศ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ค้นคว้าเข้าถึงแหล่งความรู้ด้วยตนเอง เห็นปัญหาและลงมือทำเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นจัดการศึกษาเรียนรู้ รูปแบบโครงการ โครงงานเพื่อสังคม ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น โดยจัดกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบการให้ และอาสาช่วยเหลือสังคม ด้านสื่อที่สนับสนุนการเรียนรู้ มุ่งใช้ข่าวเหตุการณ์ สถานการณ์จริงของสังคมจากสื่อทุกประเภท ด้านการวัดและประเมินผล มุ่งวัดและประเมินทั้งด้านเจตคติ ค่านิยม ทักษะ ความรู้ ความสามารถ การมีส่วนร่วมและการปฏิบัติในชีวิตจริง

คำสำคัญ: หลักสูตรพลเมืองศึกษา/ อนาคตภาพ/ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

THE SCENARIO OF CITIZENSHIP EDUCATION CURRICULUM AT THE BASIC EDUCATION LEVEL IN THE NEXT DECADE (DURING 2012 – 2022)

Abstract
The aim of the research is to study the Scenario of citizenship education curriculum at the basic education level in the next decade (during 2012 – 2022) by the Ethnographic Delphi futures research. The 2 steps of the research methodology were as follow: The first step was studying of the experts and citizenship personnel on the 24 persons and 363 citizenship education personnel’s idea from all over Thailand about the probability of trend of citizenship education curriculum at the basic education level. The second step was the creation the draft of the scenario of citizenship education curriculum and development the citizenship education curriculum the basic education level in the nest decade by the 5. The study was as follows: The scenario of citizenship education curriculum at the basic education level in the next decade (during 2012 – 2022) (The draft). The curriculum’s philosophy were focus education of quality, develop moral personal, intercultural skills into peacefulness of the asean-world citizen. The good character of students were efficiency person to respect voice, freedom, communication, information and media literacy, honesty and public mind, critical thinking of many information to decide for the sustainable development. The aim of the curriculum were citizenship into democracy culture public mind of school and community, critical thinking, cross-cultural understanding into together peacefulness. The civic education into collaboration, teamwork and leadership and problem solving activities. The learning areas for The grade 1-3 was know-self, family, community, basic knowledge of global, civic character, self-reliant, and to assist in moral principle. The grade 4-6 was responsible for family, school community, to take lesson neighborhood intercultural skill, local political, cross culture understanding and human rights. The grade 7-9 was understand right, duties in constitution, citizenship, to be responsible for themselves family community, cultural different Thailand, neighborhood country and intercultural asia. The grade 10-12 was knowledge law in rights, duties and freedom, responsible citizen, neighborhood citizenship, critical thinking, and problem solving to access organizational learning. The learning activities for grade 1-12 was at the providing as project based learning .The learners developing activities for the grade 1-12 was public mind in action learning, resource in community. The teaching material was focus news, case, situation for various learning sources. The evaluation was focus on assessment for attitude, values, knowledge, skillful, performance, collaboration, participation.

Keywords: Citizenship Education Curriculum/ Scenario/ Basic Education Level

Article Details

How to Cite
ตู้จินดา น., คงทอง อ., พรรณหาญ ส., & ภิญโญอนันตพงษ์ บ. (2016). อนาคตภาพหลักสูตรพลเมืองศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2565). Journal of Education and Innovation, 18(1), 106–118. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/54767
Section
Research Articles