การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีลีลาการเรียนรู้แตกต่างกัน โดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมีลีลาการเรียน กับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 ห้องเรียน 190 คน เวลาที่ใช้ในการทดลองเท่ากับ 15 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย คือ 6x2 factorial design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามลีลาการเรียนรู้ตามแนวคิดของแอนโทนี เอฟ กราซา และเชอร์ริล ไรช์แมน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องปฏิกิริยาเคมี แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องปฏิกิริยาเคมี และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องปฏิกิริยาเคมี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบค่าเอฟ (F - test)
ผลการวิจัย พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนที่มีลีลาการเรียนรู้แตกต่างกันกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
คำสำคัญ: ลีลาการเรียนรู้/ ผลการเรียนรู้/ การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้/ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
A COMPARISON OF THE EFFECTS IN SCIENCE LEARNING OF STUDENTS WITH THE DIFFERENT LEARNING STYLES BY INQUIRY METHOD AND COOPERATIVE
LEARNING METHOD
Abstract
The purposes of this research were to study the interaction between students with the different learning styles with Inquiry Method and Cooperative Learning Method. The sample was 190 Mattayom 4 students from Samakkhi Withayakhom school, Chaing Rai.
The procedure of performing the treatment was 15 hours of teaching. The research design was 6 x 2 factorial design. The tools used in this research were learning style questionnaire of Antony F. Grasa and Sherly Reichman, lesson plan in the topic of chemical reaction, lesson plan’s evaluation form and achievement test of chemical reaction. The results of testing were analyzed by using mean, standard deviation and F-test.
The results were as follows; the interaction between students with the different learning styles with Inquiry Method and Cooperative Learning Method was interaction with 0.05 statistic significant level.
Keywords: Learning Styles/ Learning Science/ Inquiry Method/ Cooperative Learning Method
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.