การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์

Main Article Content

เอกวิทย์ ดวงแก้ว
ศรัณย์ ภิบาลชนม์
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster random sampling จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้คะแนนเฉลี่ย สถิติการทดสอบที และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .875 วิเคราะห์ข้อมูลใช้คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: การสืบเสาะหาความรู้ (5E)/ กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์

A STUDY OF PHYSICS LEARNING ACHIEVEMENT AND ABILITY TO SOLVEPHYSICS PROBLEMS OF STUDENTS IN MATHAYOMSUKSA 5 BY USING THE INQUIRY METHOD AND HELLER AND HELLER LOGICAL PROBLEM SOVLING STRATEGY

Abstract
In this article, the research objectives were to compare: 1) the physics learning achievement of pre-learning to post-learning with the inquiry method (5E) and Heller and Heller logical problem solving strategy, 2) the physics learning achievement of students using both the inquiry method and Heller and Heller logical problem solving strategy to the passing criterion of 75 percent, and 3) the post-learning ability to solve physics problems to the passing criterion of 75 percent. The respondents were 45 students in Mathayonmsuksa 5, Benchamaracharungsarit School, Chachoengsao, sampled by cluster random sampling. The research instruments were 1) a study plan based on both the inquiry method and Heller and Heller logical problem solving strategy, 2) a test on physics learning achievement with reliability of 0.89, analyzed by average score and t-test, and 3) a test on ability to solve physics problems with reliability of 0.875, analyzed by average score standard deviation and t-test. The results show that;

1. The physics learning achievement of post-learning with the inquiry method (5E) and Heller and Heller logical problem solving strategy was higher than pre-learning achievement with the 0.5 level of significance

2. The physics learning achievement of students using both the inquiry method and Heller and Heller logical problem solving strategy was higher than the passing criterion of 75 percent with the 0.5 level of significance, and

3. The post-learning ability to solve physics problems of the students using both the inquiry method and Heller and Heller logical problem solving strategy was higher than the passing criterion of 75 percent with the 0.5 level of significance.

Keywords: Inquiry Method (5E)/ The Problem Solving Skill based on Heller and Heller Logical Problem Solving Strategy

Article Details

How to Cite
ดวงแก้ว เ., ภิบาลชนม์ ศ., & ศิริสวัสดิ์ เ. (2016). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์. Journal of Education and Innovation, 18(1), 202–210. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/54776
Section
Research Articles