การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2

Main Article Content

พิศมัย แก้วเจริญผล
สมชัย วงษ์นายะ
เรขา อรัญวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
ชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
3) ประเมินกลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1และเขต 2 วิธีการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษา และครูประถมศึกษา จำนวน 749 คน การสนทนากลุ่มกับผู้บริหารสถานศึกษา 2 กลุ่มๆ ละ 10 คน การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้บริหารและครูเพิ่มเติมอีก 8 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ 12 คน และสถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ในด้านสภาพทั่วไปในการจัดการชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินงานการจัดการชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ด้านการสอนและนวัตกรรมการสอนก็จัดไว้เป็นระบบเช่นเดียวกัน การสื่อสารในชั้นเรียนเป็นไปอย่างหลากหลาย และมีการสร้างวินัยในชั้นเรียนอย่างชัดเจน ปัญหาการจัดการชั้นเรียนของครู ส่วนใหญ่มีมีการจัดป้ายนิเทศ หรือจัดมุมความรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าเหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ครูผู้สอนไม่ใคร่เตรียมแผนการสอน หรือไม่จัดสื่อการสอน ที่หลากหลายและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดการชั้นเรียนของครูมีปัจจัย 5 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยภายนอกมี 4 ด้าน คือ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองและกฎหมาย การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย การกำหนด 1 วิสัยทัศน์ 5 พันธกิจ 5 เป้าประสงค์ 5 ประเด็นกลยุทธ์ 6 กลยุทธ์ 21 ตัวชี้วัด และ 25 มาตรการ ผลการประเมินกลยุทธ์เหล่านี้ มีความสอดคล้อง เหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในระดับมาก และมากที่สุด

คำสำคัญ: การพัฒนากลยุทธ์/ การจัดการชั้นเรียน/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร

THE DEVELOPMENT OF STRATEGIES FOR CLASSROOM MANAGEMENT OF TEACHERS IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER KAMPHAENG PHET PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREAS 1 AND 2

Abstract
The objectives of this research study were three folds: 1) to make a survey of general practices, problems and factors related to the teachers’ classroom management in basic educztion schools in kamphaeng Phet Offices of Basic Education Service Areas 1 and 2. 2) to develop strategies for teachers’ classroom management and 3) to evaluate the strategies for teachers’ classroom management. Methodologies of the research study employed a questionnaire survey of 749 school administrators and teachers, group discussion among the school administrator including structured interviews, workshop and 12 experts connoisseurship discussion. The statistical analyses were percentage, mean, standard deviation. The research findings were:
The general practices of teachers’ classroom management were systematically assigned in terms of the policy, objectives and goals as well as instructional innovation. The classroom communication and self-discipline were provided. The problems of teachers’ classroom management, however, were not sufficiently practiced and implemented. Most of the teachers did not provide exhibition boards or knowledge corner to enhance student knowledge of contemporary events. The findings of the research study also revealed that the internal factors affecting teachers’ classroom management (Strengths and Weaknesses) were the school administrators, school personnel financial support, material and management. The external factors affecting teachers’ classroom management (Opportunities and Threats) were Society and culture, technology, economy and politics and legislation. The development of strategies for teachers’ classroom management consisted of
1 vision, 5 mission, 5 objectives, 5 strategic issues, 6 strategies, 21 indicators and 25 measures. The results of evaluating the strategies were at high and highest levels in terms of appropriateness, suitability, feasibility, possibility and utility.

Keywords: Development of Strategies/ Classroom Management/ Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area

Article Details

How to Cite
แก้วเจริญผล พ., วงษ์นายะ ส., & อรัญวงศ์ เ. (2016). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. Journal of Education and Innovation, 18(1), 133–143. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/54932
Section
Research Articles