การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงาน วิทยาศาสตร์ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ทิพวรรณ สุวรรณ
สุริศักดิ์ ประสานพันธ์
วารีรัตน์ แก้วอุไร
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล

Abstract

บทคัดย่อ  

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ และความต้องการในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์จากครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 147 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน และทดลองนำร่องใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ กับครูผู้สอน วิทยาศาสตร์จำนวน 49 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์  ผลการวิจัย พบว่า                               

          1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ในภาพรวม พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับน้อย มีปัญหาในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก และพบว่า ครูร้อยละ 98 มีความต้องการพัฒนาตนเองในด้านความรู้พื้นฐานในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดและประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ และด้านการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

          2.  ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาสาระของหลักสูตร กิจกรรมการพัฒนา ระยะเวลาในการพัฒนา สื่อและแหล่งเรียนรู้ประกอบการพัฒนา และการวัดและประเมินผลการพัฒนาเน้นการพัฒนาไปบนการปฏิบัติงานจริงเน้นการเรียนรู้ทฤษฏีควบคู่กับการปฏิบัติจริงและผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ผลการทดลองนำร่องพบว่ามีความเหมาะสมสามารถนำไปพัฒนาได้

          3.  ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 1) ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูวิทยาศาสตร์มีผลการประเมินการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูวิทยาศาสตร์มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         

          4.  ผลการประเมินความคิดเห็นต่อหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานของครูวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์, ครูวิทยาศาสตร์

THE DEVELOPMENT OF CURRICULUM TO ENHANCE THE ABILITY ON SCIENCE PROJECT LEARNING MANAGEMENT FOR SCIENCE TEACHERS IN THE LOWER SECONDARY SCHOOL

          The purpose of this research was to develop the curriculum to enhancing the ability on science project learning management for science teachers in the office of the basic Education Commission. The specific objective of this research were: 1) to study basic information for developing curriculum development to enhance the ability on science project learning management, 2) to construct the curriculum and verify its quality, 3) to implement the curriculum to enhance the ability on science project learning management, and 4) to evaluate on the curriculum to enhance the ability on science project learning management.

          The research methodology used a research and development approach in four phases: Phase 1: Studying basic information of the teaching environment, problems of science project learning instruction, and needs of developing the curriculum. Data were collected from 147 teachers. Phase 2: Constructing and verifying the quality of the developed curriculum and its supplements. Ideas and suggestions from 7 experts were used in this phase. The curriculum was then piloted for further improvement. Phase 3: Implementing the curriculum with the samples from 49 teachers. Phase 4: Evaluating the curriculum to enhance the ability on science project learning management.

          The results of the research are as follows;  

          1. The basic information of the teaching environment was found that the teachers’ science project - based learning was overall at low level. Problems in implementing a science project - based learning were found to be at high level and 98.00 % of the teachers needed a developing curriculum. They wanted to have background knowledge about instruction, teaching techniques, measurement and evaluation, making lesson plans and carrying out the instruction to enhance science project- based learning.

          2. The curriculum consisted of 8 elements; rationale, objectives, structure, content, developing activity, period of time, materials and learning sources, measurement and evaluation. The curriculum focuser on learning on the job training and learning theory to practice. The result of curriculum quality examination by expert revealed that the developing curriculum was appropriate and congruent in its element at high level. The result of the pilot implementation showed that it is appropriate for the real implementation.

          3. The result of the implementation of the curriculum shows that: 1) The knowledge and understanding in science project-based learning management of post-test is higher than of the pre-test at significance level .05, 2) the result of science project learning management practice of the teachers is higher than that of the set criteria up 70% at significance level .05, and 3) the attitude towards the science project learning of post-test is higher than of pre-test at significance level .05.

          4. The satisfaction on the developing curriculum of science teachers are at the most level both in total and on every item.

Keywords: Curriculum Development, Science Project Learning Management Ability, Science Teacher

Article Details

How to Cite
สุวรรณ ท., ประสานพันธ์ ส., แก้วอุไร ว., & ธำรงโสตถิสกุล ว. (2016). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงาน วิทยาศาสตร์ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education and Innovation, 18(2), 1–12. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61057
Section
Research Articles