การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน

Main Article Content

เด่นศักดิ์ หอมหวล
วารีรัตน์ แก้วอุไร
ทนงศักดิ์ ยาทะเล
อังคณา อ่อนธานี

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน 4) เพื่อประเมินหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็น ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะ วิเคราะห์ภารกิจ และตรวจสอบระดับความสำคัญ ความยากง่าย ความถี่การปฏิบัติภารกิจ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร ศึกษานำร่องการใช้หลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร โดยใช้หลักการบริหารคุณภาพ PDCA ขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตร ประยุกต์ใช้การประเมินประสิทธิผลโครงการ ของเคิร์กแพททริก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า

          1.  ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า สมรรถนะด้านความรู้ 3 อันดับแรก คือ การสร้างเครื่องมือวัดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา การวัดและประเมินผลระดับอุดมศึกษา ด้านทักษะและเจตคติ ประกอบด้วย การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล พบว่าผลการใช้กระบวนการดาคัมทำให้ได้ตัวบ่งชี้หน้าที่ในสมรรถนะหลัก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

          2.  ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่ามี 8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) สมรรถนะที่มุ่งเน้น มี 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ 4) โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร 5) กระบวนการพัฒนา การพัฒนาผู้สอนใช้หลักการบริหารคุณภาพ PDCA แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดำเนินการพัฒนาโดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 6) ระยะเวลาการพัฒนา 7) สื่อการเรียนรู้ 8) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อนำหลักสูตรไปศึกษานำร่อง พบว่า หลักสูตรมีความเป็นไปได้ต่อการนำไปใช้

          3.  ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนา มีความรู้ ความเข้าใจ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทักษะการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีเจตคติหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4.  ผลการประเมินหลักสูตร ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ 1 เดือน ด้านปฏิกิริยา พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนามีความคิดเห็นต่อโครงการ อยู่ในระดับมาก ด้านการเรียนรู้ พบว่าผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการเรียนรู้ และเจตคติต่อโครงการ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านพฤติกรรม พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนา มีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ด้านผลลัพธ์ ผู้เข้ารับการพัฒนา สามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปใช้ประโยชน์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, วิทยาลัยชุมชน

 

THE DEVELOPMENT OF CURRICULUM TO ENCOURAGE LEARNING MANAGEMENT COMPETENCY FOR COMMUNITY COLLEGE TEACHERS

          This study has following objectives; 1) to study basic information necessary to the development of curriculum of learning management competency for teachers at the diploma level at the community colleges, 2) to create and inspect the curriculum of learning management competency for teachers at the diploma level at the community colleges, 3) to try using the curriculum of learning management competency for teachers at the diploma level at the community colleges and, 4) to evaluate the curriculum to encourage learning management competency for teachers at the diploma level at the community colleges. Research methodology was conducted subject to research and development consisting of four steps. The first step was to study basic information necessary to the curriculum development by studying the need of learning management competency development, analyzing duties by DACUM method and checking the important levels of tasks, difficulty and easiness of the tasks and frequency of such tasks. The second step was to create and check quality of the curriculum and pilot study in using the curriculum. The third step was to test the curriculum. This was to try using the curriculum by quality management principle of PDCA, The fourth step was to evaluate the curriculum by using the project evaluation method of Kirkpatrick. In analyzing data used reference statistics by frequency, percent, mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis. The study found that;

          1.  Findings from the studying basic information were: it brought to the duty indicators in core competency checking, it arranged in order priority, was found that competency of knowledge consisted of creation of measurement tools according to the Thai Qualifications Framework for Higher Education, Thai Qualifications Framework for Higher Education, higher education measurement and evaluation, In terms of skills and attribute, they comprised design of learning management, learning management and measurement and evaluation.

          2.  The result of creation and quality evaluation of the developed curriculum contains eight components which a, 1) rationale 2) objectives of curriculum, 3) the competencies focused were towards 3 aspects which were knowledge, skills and attitudes, 4) curriculum structure and contents,5) development processes under PDCA quality management principle by experience-learning, 6) development duration, 7) instructional media, and 8) measurement and evaluation and the result of curriculum quality inspection by experts and it was found that the curriculum has the high suitability at the high level, and the pilot study found that the curriculum has the probability to be employed.

          3.  The curriculum test found that; after the development, trainees had higher knowledge and understanding in learning management than before the development with statistical significance level of .05. After the development, the trainees had higher skills than criteria on learning management by 70. Trainees had higher attribute to learning management than before the development with a statistical significance level of .05.

          4.  The result of the curriculum evaluation (by applying Kirkpatrick). After one month termination of the development project, in terms of reactions found that trainees had comments on the project, In terms of learning, trainees than before the development with a statistical significance level of .05, In terms of behaviors, after the development trainees had a higher level with a statistical significance level of .05. The participants were able to make good use of the knowledge, skills and experience.

Keywords: Curriculum Development, Learning Management Competency, Community College

Article Details

How to Cite
หอมหวล เ., แก้วอุไร ว., ยาทะเล ท., & อ่อนธานี อ. (2016). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้สอนระดับอนุปริญญาในวิทยาลัยชุมชน. Journal of Education and Innovation, 18(2), 13–24. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61058
Section
Research Articles