การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิธีดำเนินการใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านจิตตปัญญาศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนว ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ เป็นการนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขาทะลุพิทยาคม จังหวัดชุมพร จำนวน 27 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการทดลอง 9 กิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1) กิจกรรมอุ่นเครื่อง 2) กิจกรรมเอกลักษณ์ของฉัน 3) กิจกรรมนักสู้ผู้พิชิต 4) กิจกรรมสร้างคุณค่าด้วยกิจกรรมจิตอาสา 5) กิจกรรมคุณค่าของการศึกษาต่อสายอาชีพ 6) กิจกรรมกระจกเงา 7) กิจกรรมคนสร้างฝัน 8) ตรวจสอบผลการเรียน 9) กิจกรรมแผนที่ชีวิต รวมเวลา 20 ชั่วโมง โดยใช้แผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน – หลัง (One Group Pretest – Posttest Design)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมที่สามารถเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3ในด้านตนเองโดยทั่วไป ด้านครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษา และด้านสังคมและกลุ่มเพื่อน คือ การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ของผู้เรียน การสร้างสมาธิให้กับผู้เรียน การสร้างบรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นและความปลอดภัย การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญในบทเรียน การวินิจฉัยปัญหาของผู้เรียนการให้คำแนะนำแต่ละบุคคล สรุปประเมินผลและติดตามผล การเสริมแรงเมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม การเชื่อมโยงบทเรียนมาสู่ตนเอง การฟังอย่างลึกซึ้ง การสะท้อนความรู้ และการเขียนบันทึกประจำวัน กิจกรรมดังกล่าวจะทำให้นักเรียนได้ตระหนักและเกิดการเรียนรู้ในตนเองจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดที่มีต่อตนเองในเชิงบวก คุณลักษณะของนักเรียนที่เห็นคุณค่าในตนเอง คือ 1) มีเจตคติที่ดีต่อตนเองและมีความคิดเชิงบวก 2) มีความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม 3) มีความมั่นใจในตนเองสามารถสร้างเป้าหมายชีวิตในอนาคตได้ 4) ยอมรับตนเองและยอมรับผู้อื่นตามความเป็นจริง
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมี 2 องค์ประกอบ คือ 1) ที่มาของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม 2) ตัวรูปแบบการจัดกิจกรรม ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ส่วนด้านกระบวนการจัดกิจกรรม มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อม (preparing) หมายถึงการสร้างความพร้อมในการรับรู้ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยการสร้างสมาธิและพัฒนาสติ 2) การพิจารณาด้วยใจอย่างอย่างใคร่ครวญ (contemplation) เป็นการทำใจจดจ่อเรื่องราว สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ แล้วพิจารณาอย่างใคร่ครวญเชื่อมโยงถึงคุณค่าของตนเอง 3) การปฏิบัติสู่การเปลี่ยนแปลง (practicing) เป็นขั้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดเดิม มาสู่การเห็นในคุณค่าและศักยภาพที่มีของตนเอง 4) ขั้นนำเสนอ (presentation) เป็นขั้นนำสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของตนเองมาเล่าให้เพื่อนในห้องและครู 5) การนำไปใช้ (applying) เป็นขั้นนำวิธีการปฏิบัติไปใช้ในชีวิต ประจำวันที่ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่คงทน ด้วยการเขียนบันทึกผลของการกระทำประจำวัน รูปแบบการจัดกิจกรรม และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.63, S.D.= 0.27)
3. นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีการเห็นคุณค่าในตนเองทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านตนเองโดยทั่วไป ด้านครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษาและด้านสังคมและกลุ่มเพื่อนโดยวัดจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนเห็นคุณค่าในตนเองทั้ง 4 ด้าน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังต่อไปนี้ การเห็นคุณค่าในตนเองรวมทุกด้าน โดยมีคะแนนจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ก่อนการทดลองเฉลี่ย 179.26 คะแนน หลังการทดลองเฉลี่ย = 234.26 คะแนน ผลต่าง = 55.0 คะแนน และมีคะแนนด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านตนเองโดยทั่วไป ก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 52.56 หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 60.37 ผลต่าง = 7.81 2) ด้านครอบครัว ก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 46.07 คะแนน หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 63.93 ผลต่าง = 17.86 คะแนน 3) ด้านการศึกษา ก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 48.30 หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 65.35 ผลต่าง = 17.05 คะแนน 4) ด้านกลุ่มเพื่อน ก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 32.63 หลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ย = 44.67 ผลต่าง = 12.04 คะแนน และจากการสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองด้านต่างๆ หลังจากการใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความตระหนักในคุณค่าของตัวเอง ดังตัวอย่างคำพูดต่อไปนี้ “ถึงผมหน้าตาไม่ดีแต่ผมก็มีดีด้านอื่นๆ นะคนไม่ได้ชอบกันที่หน้าตาอย่างเดียวนี่ครับ” “หนูเกิดมาในครอบครัวที่ฐานะยากจน แต่ครอบครัวเราก็มีความสุข” “ผมเป็นนักกีฬาของโรงเรียน เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ยอมรับในความสามารถของผม“
คำสำคัญ: รูปแบบการจัดกิจกรรม, การเห็นคุณค่าในตนเอง, จิตตปัญญาศึกษา
THE DEVELOPMENT OF GUIDANCE ACTIVITIES MODEL WITH CONTEMPLATIVE EDUCATION FOR ENHANCING SELF ESTEEM FOR MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS
The purpose of this research was to develop the activities model with contemplative education to enhance self esteem for Mathayomsuksa 3 students. The research consisted of three steps. Step 1: to study guidance activities following contemplative education to enhance self esteem for Mathayomsuksa 3 students. Step 2: to construct and examine the quality of activities model. Step 3: to implement of the activities model. The sample used for the experiment was 27 students of the Mathayomsuksa 3 in Khaotalupittayakom School by purposive sampling. The research instruments were structured interviews, the evaluation form of guidance activities model’s appropriateness, the evaluation form of the guidance activities model’s manual appropriateness, activities plans, self esteem evaluation scale, satisfaction evaluation scale and journal writing. Nine activities were used as follows. 1) Warm up Activity, 2) My Identity Activity, 3) Warrior Activity, 4) Volunteer Activity, 5) Vocational Studies Activity, 6) Reflection Activity, 7) Dream Creator Activity, 8) Learning Check Activity, and 9) Map of Life Activity. Those nine activities were completed in 20 hours by One Group Pretes t – Posttest Design. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation,
t – test and content analysis.
The research results are as follows:
1. The activities to enhance self-esteem for Mathayomsuksa 3 students included general selfness, family, education, social group and friend. There were preparation, meditation, the warm atmosphere of love and safety, contemplation, learner’s problem diagnosis, individual guidance, measurement and evaluation, reinforcement, connecting lessons to oneself, deep listening, learning reflection and daily record. Students can be learned about self-concern and self-learning leading to self-positive thinking. The characteristics of self-esteem students were: 1) a positive attitude toward self and positive thinking, 2) assertiveness in a good deed, 3) a self – confidence to set a future goal, and 4) real self-acceptance and others.
2. The developed model consisted of two elements. The first element was orientation on the basic concept of the activities model. The second element was activities model consisting of principle, objective, content, learning activities, measurement and evaluation. The learning process consisted of 1) preparing; to be ready to learn, to self-change and to contemplate, 2) contemplation; to focus on any situations to be linked with contemplation, 3) practicing; to practice for a change of original concept leading to self-esteem and potential, 4) presentation; to present the self-change to peers and teachers, and 5) applying; to take it into daily life to be permanent behavior in daily record. The experts agreed the appropriateness of activities model and activities manual at the highest level (= 4.63, S.D.= 0.27).
3. After using the model, the value of self-esteem in terms of general selfness, family, education, social group and friend, we found out that the students’ posttest scores after learning through the developed model were higher than before learning at .05 level of statistical significance. All four areas of self-esteem elements have increased significantly. The average score before learning was 179.26 and after learning was 234.26 so the different score was 55.0. In detail: 1) general selfness, the average score before learning was 52.56 and after learning was 60.37 so the different score was 7.81. 2) Family, the average score before learning was 46.07 and after learning was 63.93 so the different score was 17.86.
3) Education, the average score before learning was 48.30 and after learning was 65.35 so the different score was 17.05. 4) Social group and friend, the average score before learning was 32.63 and after learning was 44.67 so the different score was 12.04. The interviews revealed that interviewees have self-esteem as quotes “Even I am not a good looking person, I have a good deed in other sides” “I was born in a poor family but am full of happiness” “I am a school athlete so my friends accept my ability”
Keywords: Activities Model, Self Esteem, Contemplative Education
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.