การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตาก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดตาก
2) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดตาก 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดตาก และ 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. การให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดตาก โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ด้าน การให้บริการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
2. สภาพการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดตาก พบว่า มีการนำข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนมาใช้ในการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และมีการสรุปผลงานประจำปีของแต่ละหน่วยงาน ส่วนปัญหา พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีจำนวนไม่เพียงพอ หรือไม่ตรงกับกรอบอัตรากำลังที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้อย ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านจุดแข็ง พบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชนสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านจุดอ่อน พบว่า จำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอต่อภาระงาน ด้านโอกาส พบว่า มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีฐานข้อมูลที่ถูกต้องและตรวจสอบได้ ด้านอุปสรรค พบว่า มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยทำให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุขขาดความต่อเนื่อง
3. กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตาก ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 6 พันธกิจ 6 ประเด็นกลยุทธ์ 6 เป้าประสงค์ 10 กลยุทธ์ 19 ตัวชี้วัด 79 แนวทางปฏิบัติ
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตาก พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางปฏิบัติ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการยอมรับได้อยู่ในระดับมาก และมากที่สุด
คำสำคัญ: กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
THE DEVELOPMENT OF MANAGEMENT STRATEGIES FOR TAMBON HEALTH PROMOTING HOSPITALS, TAK PROVINCE
The research objectives were 1) to study the hospital health services, 2) to find out the problems and factors related to the hospital management, 3) to develop the hospital management strategies, and 4) to evaluate the management strategies of Tambon health promoting hospitals in Tak province. Data were collected through the use of document analysis, questionnaire, focus group discussion, workshop, connoisseurship and assessment form. The data were analyzed through the applications of frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The findings were as follows:
1. The overall of health services of the Tambon health promoting hospitals in Tak Province were at a high level. All aspects including treatment, prevention, promotion and rehabilitation were also rated at high levels.
2. The management of Tambon health promoting hospitals revealed that the information about the people’s health condition was brought into the administration of the health promoting hospitals. There were also annual reports of each section department. However, some problems were found e.g. understaffing at Tambon health promoting hospitals or some were inappropriate qualifications working position of the ministry of public health. In addition, the hospitals’ directors did not consider the hospital operation direction as an important issue. The factors related to the management of Tambon health promoting hospitals revealed, for the strengths, that the public health personnel were friendly to communities and there was an active network of organizations regarding the hospital weaknesses, the numbers of public health personnel and the workload were insufficient. For the opportunities, the up-to-date technology is convenient to use for collecting data. Besides, the database is accurate and can be examined.
3. The proposed management strategies of this research consisted of one vision, 6 missions, 6 strategic issues, 6 goals, 10 strategies, 19 indicators and 79 practices.
4. The result, of evacuating the strategies was that the vision, missions, strategic issues, goals, strategies and practices were consistent, suitable, feasible and acceptable at a high and the highest levels.
Keywords: Strategy, Management, Tambon Health Promoting Hospitals
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.