การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

นิคม เหลี่ยมจุ้ย
สมชัย วงษ์นายะ
เจริญวิชช์ สมพงษ์ธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและกลุ่มครูผู้สอน ด้วยแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม 2) พัฒนากลยุทธ์ โดยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอน ในวิทยาลัยการอาชีพที่ประสบผลสำเร็จ และดำเนินการยกร่างกลยุทธ์ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ ตรวจสอบกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 3) ประเมินกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยแบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า

          1. สภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า การวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ได้สอดคล้องสัมพันธ์กัน วิทยาลัยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สนับสนุนการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงผู้ใช้ในด้านความต้องการ ง่าย รวดเร็ว สอดคล้องกับการบริหารงานบุคลากร พัฒนาระบบการบริหารตามเกณฑ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) อย่างต่อเนื่อง บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถและทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงาน ส่วนปัญหาการบริหารการเปลี่ยนแปลง พบว่า นโยบายและแนวทางการนำนวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารและพัฒนาการเรียนรู้ของวิทยาลัยยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรมบุคลากรส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ฝ่ายบริหารไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการยกย่องชมเชย การให้รางวัล และการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจัยภายในด้านจุดแข็งครูผู้สอนมีศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจด้านอื่นๆ ในสถานศึกษาที่นอกเหนือจากงานด้านวิชาการ ครูผู้สอนส่วนใหญ่พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงาน ด้านจุดอ่อน งบประมาณในการจ้างบุคลากร และค่าสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ ปัจจัยภายนอกด้านโอกาส สังคมให้การยอมรับและมีการพึ่งพาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาสังคมด้วยการรับบริการวิชาชีพ การฝึกอบรมวิชาชีพและการช่วยเหลือเมื่อประชาชนประสบภัย ด้านภาวะคุกคาม ค่านิยมของคนในสังคมส่วนใหญ่ส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ

          2.  กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมี 7 กลยุทธ์

          3. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง พบว่า มีผลการประเมินในด้านความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ระดับมากและมากที่สุด

คำสำคัญ: กลยุทธ์, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, วิทยาลัยการอาชีพ

STRATEGIC DEVELOPMENT FOR TRANSFORMATIONAL MANAGEMENT OF CAREER COLLEGES’ ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION IN THE LOWER NORTHERN REGION

          The purposes of research were 1) to study the states, the problems and the factors related with transformational management of Career Colleges’ administrators under the Office of Vocational Education Commission in the lower northern region, 2) to develop the strategies for transformational management of Career Colleges’ administrators under the Office of Vocational Education Commission in the lower northern region, and 3) to assess the strategies for transformational management of Career Colleges’ administrators under the Office of Vocational Education Commission in the lower northern region. The first step was to find the states, the problems and the factors related with transformational management. The related research instruments were questionnaires and focus group discussion. The second step was to develop the strategies for transformational management, based on interviews conducted with the directors, deputy directors and teachers in successful Career Colleges and a workshop conducted with the administrators, teachers and strategic experts, then checked the strategies to set the strategic draft by connoisseurship. The third step was to assess the strategies for transformational management, using an assessment form conducted with the experts.   The research findings were as follows:

          1. The states of transformational management of Career Colleges’ administrators under the Office of Vocational Education Commission in the lower northern region were found that the planning was set and vision, missions and goals were consistent. Modern technology is used for staff performanc. The administrative processes were developed with the criteria of the Office of National Education Standard and quality assessment. The majority of staff consists of knowledgeable people and has appropriate working skills. The problems of transformation found were the policy and the guidelines of the implementation for innovation and educational technology are not clear. The majority of the staff does not notify team working. The administrators do not notify staff motivation. The related factors were as follows: for the internal factors, the strength was found that teachers do not only do their academic affairs, they also do other tasks. Most teachers improve themselves continuously. As a weakness was found that budget is not sufficient for personnel employment and public utility. Regrading external factors, the opportunity is that vocational services could make the society knowledgeable and reliant on vocational institutions. Threat is that parents preferr general education to vocational education.

          2. The seven strategies for transformational management of Career Colleges’ administrators under the Office of Vocational Education Commission in the lower northern region consisted of vision, missions, strategic issues, goals, strategies, indicators and measures.

          3. The assessment of the strategies for transformational management of Career Colleges’ administrators under the Office of Vocational Education Commission in the lower northern region found that the congruity, the propriety feasibility and the utility were at high and the highest levels, respectively.

Keywords: Strategies, Transformational Management, Career College

Article Details

How to Cite
เหลี่ยมจุ้ย น., วงษ์นายะ ส., & สมพงษ์ธรรม เ. (2016). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. Journal of Education and Innovation, 18(2), 118–130. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61068
Section
Research Articles