ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะ การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปรผัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เจตยุทธ วงศ์ใหญ่
อาพันธ์ชนิต เจนจิต
คงรัฐ นวลแปง

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปรผัน ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนรวม 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปรผัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทดสอบ t-test one sample ผลการวิจัย พบว่า

          1. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปรผัน ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD, ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์, การแปรผัน

THE EFFECTS OF ORGANIZING THE INQUIRY CYCLE INSTRUCTIONAL MODEL (5ES) TOGETHER WITH STUDENT TEAMS ACHIEVEMENT DIVISION DEVELOPING MATHEMATICAL CONNECTION SKILL IN VARIATION FOR 
MATHAYOMSUKSA II STUDENTS

          The purposes of this research were to study mathematical connection skills and mathematics learning achievement after using the inquiry cycle instructional model (5Es) together with student teams achievement division with standard at 75%. The sample for this research consisted of 24 Mathayomsuksa II students in the second semester of the academic year 2014 at Princess Chulabhorn's College Chonburi (Regional Science School), Ban Bung District, Chonburi Province. They were selected through the cluster random sampling. The research instruments were the lesson plans, connection skill and the mathematics learning achievement test. The data were analyzed by using the t-test for one sample. The results were as follows:

          1. The mathematical connection skill after using the inquiry cycle instructional model (5Es) together with student teams achievement division was significantly higher than the 75 percent criterion at .05 level of significance.

          2. The mathematics learning achievement of Mathayomsuksa II students after using the inquiry cycle instructional model (5Es) together with student teams achievement division was significantly higher than the 75 percent criterion at .05 level of significance.

Keywords: The inquiry cycle instructional model (5Es) together with student teams achievement division, Mathematical connection skill, Mathematics learning achievement, Variation

Article Details

How to Cite
วงศ์ใหญ่ เ., เจนจิต อ., & นวลแปง ค. (2016). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะ การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปรผัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Education and Innovation, 18(2), 152–160. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61071
Section
Research Articles