ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ศุภพงษ์ เนียมเที่ยง
สมศิริ สิงห์ลพ
กิตติมา พันธ์พฤกษา
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
มันทนา เมฆิยานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ และ 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างรูปแบบในการจำ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test)

          ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

          1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) มีความสามารถในการสร้างรูปแบบในการจำสัปดาห์ที่ 3 สูงกว่าสัปดาห์ที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E), เทคนิคช่วยจำ, ความสามารถในการสร้างรูปแบบในการจำ

EFFECT OF 7E INQUIRY LEARNING CYCLE ACTIVITIES AND MNEMONICS ON ENDOCRINE SYSTEM FOR MATTAYOMSUKSA 5 STUDENTS

          This research aimed to study the effects of 7E inquiry learning cycle activities and mnemonics on endocrine system for Mattayomsuksa 5 students in the first semester of academic year 2013 at “Piboonbumpen” Demonstration School, Burapha University. The samples of the study were obtained by cluster random sampling. The data collection tools consisted of lesson plans using 7E inquiry learning cycle activities and mnemonics on endocrine system, biology learning achievement test and assessment of ability to create memorizing patterns. The mean, standard deviation, and t-test were used to analyze the data

          The research findings can be summarized as follows:

          1. The post-test mean scores of biology learning achievement of Mattayomsuksa 5 students after using 7E inquiry learning cycle activities and mnemonics teaching were higher than pre-test mean scores at .05 level of significance.

          2. The post-test mean scores of biology learning achievement of Mattayomsuksa 5 students after using 7E inquiry learning cycle activities and mnemonics teaching were higher than 70 percent criterion at .05 level of significance.

          3. The 3rd week mean scores of ability to create memorizing patterns after using 7E inquiry learning cycle activities and mnemonics teaching were higher than the 1st week mean scores at .05 level of significance.

Keywords: 7E Inquiry Learning Cycle, Mnemonics, Ability to Create Memorizing Patterns

Article Details

How to Cite
เนียมเที่ยง ศ., สิงห์ลพ ส., พันธ์พฤกษา ก., ศิริสวัสดิ์ เ., & เมฆิยานนท์ ม. (2016). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ควบคู่กับเทคนิคช่วยจำ (Mnemonics) วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education and Innovation, 18(2), 161–170. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61073
Section
Research Articles