ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบประสาทและ อวัยวะรับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชยพัทธ์ ศรีกรด
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
กิตติมา พันธ์พฤกษา
ทนงศักดิ์ ประสบกิตติคุณ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ
วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนระยองวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม
1 ห้องเรียน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยากับเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้การทดสอบค่าที
(t-test) แบบ One Sample

          ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05

คำสำคัญ: วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E), เทคนิคแผนผังความคิด

THE EFFECT OF 5E INQUIRY LEARNING CYCLE MODEL AND MIND MAPPING TECHNIQUE ON “NERVOUS SYSTEM AND SENSORY ORGAN” FOR 11th GRADE STUDENTS

          The purposes of this research were to study Biology learning achievement and scientific analytical thinking of eleventh grade students using the 5E inquiry learning cycle model and mind mapping technique. The samples for this research consisted of 42 eleventh grade students from Rayongwittayakom School in the first semester of academic year 2014. The samples were obtained by using cluster random sampling. The research instruments were six lesson plans, Biology Learning Achievement Test, and Scientific Analytical Thinking Test. The data were analyzed by comparing the difference between pretest and posttest mean scores of Biology learning achievement and scientific analytical thinking using dependent sample t-test and comparing the difference between posttest mean scores of Biology learning achievement and criterion using one sample t-test.

          The research findings showed that the posttest mean scores of Biology learning achievement and scientific analytical thinking of eleventh grade students after using the 5E inquiry learning cycle model and mind mapping technique were statistically significant higher than pretest mean scores of that at the .05 level and posttest mean scores of Biology learning achievement were statistically significant higher than 75 percent criterion at the .05 level.

Keywords: 5E Inquiry learning cycle model, Mind Mapping Technique

Article Details

How to Cite
ศรีกรด ช., ศิริสวัสดิ์ เ., พันธ์พฤกษา ก., & ประสบกิตติคุณ ท. (2016). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบประสาทและ อวัยวะรับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education and Innovation, 18(2), 171–180. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61075
Section
Research Articles