การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศรีวิกาญจน์ กรุมรัมย์
สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
สมศิริ สิงห์ลพ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการสร้างองค์ความรู้ แนวคิดกระบวนการกลุ่ม และการเรียนรู้แบบร่วมมือ แนวคิดความพร้อมในการเรียนรู้ แนวคิดการเรียนรู้กระบวนการ และแนวคิดการถ่ายโอนความรู้ (CIPPA Concept) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Division) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 24 คน จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิด ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์ และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าสถิติ t-test แบบ Dependent Sample เพื่อทดสอบสมมติฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. เมื่อนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD แล้ว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์ สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          2. เมื่อนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD แล้ว มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ประสานห้าแนวคิด

A STUDY EFFECT OF CIPPA CONCEPT TOGETHER WITH STAD TECHNIQUE TO DEVELOP BIOLOGICAL LEARNING ACHIEVEMENT ON GENETIC AND SCIENCE PROCESS SKILLS FOR MATHAYOMSUKSA IV STUDENTS

          The purposes of this research were to study biological learning achievement regrading genetics and science process skills for Mathayomsuksa IV students of Princess Chulabhorn’s college Chonburi (Regional Science School) before and after using CIPPA concept (Construction of Knowledge, Interaction, Physical Participation, Process Learning and Application) together with Student Teams Achievement Division (STAD) technique. The sample for this research consisted of 24 Mathayomsuksa IV students in the second semester of academic year 2014. They were selected through the cluster random sampling. The research instruments were the lesson plans, the biological learning achievement on genetic test and the science process skills test. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and dependent t-test.

          The research findings are as follows:

          1. The biological learning achievement on genetic of Mathayomsuksa IV students after studying with CIPPA concept together with STAD technique was significantly higher than before studying at the .05 level.

          2.  The science process skills of Mathayomsuksa IV students after studying with CIPPA concept together with STAD technique was significantly higher than before studying at the .05 level.

Keywords: CIPPA, CIPPA concept together with STAD technique, The science process skills

Article Details

How to Cite
กรุมรัมย์ ศ., ศรีแสนยงค์ ส., & สิงห์ลพ ส. (2016). การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การประสานห้าแนวคิดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา เรื่อง พันธุศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education and Innovation, 18(2), 202–211. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61079
Section
Research Articles