การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กรณีตัวอย่าง เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ เรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สิริวิทู ภู่น้อย
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
อังคณา อ่อนธานี

Abstract

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กรณีตัวอย่าง เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ เรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา
3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้กรณีตัวอย่าง เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ เรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวัน จำนวน 3 ชุด เสนอชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านพิจารณาความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากนั้นปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มย่อย กลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ เพื่อหาประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กรณีตัวอย่าง
เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ เรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวัน ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2557 จำนวน 43 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ

        ผลการทดลอง พบว่า

        1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 3 ชุด มีประสิทธิภาพ 80.67/81.85, 82.67/82.59 และ 84.00/ 83.70 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

        2. นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กรณีตัวอย่าง เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ เรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

        3. นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, กรณีตัวอย่าง, การคิดวิเคราะห์, ธุรกิจในชีวิตประจำวัน

A DEVELOPMENTOF AN INSTRUCTIONAL PACKAGES OF COOPERATIVE LEARNING BY USING CASE STUDY TO STRENGTHEN ANALYTICAL THINKING ON BUSINESS IN DAILY LIFE FOR MATHAYOM SUKSA 6 STUDENTs

       The objectives of the study were: 1) to develop and identify the efficiency of instructional packages to strengthen analytical thinking on business in daily life for mathayomsuksa 6 students, 2) to compare analytical thinking on before and after learning, and 3) to study the student satisfaction for instructional packages. The research methodologies were research and development. The research procedure comprised three steps: the first step was to construct and identify efficienty instructional packages to strengthen analytical thinking on business in daily life, The study instruments were the five instructional packages, present the instructional packages to five experts to examine the suitability and then improve according to the expert advices, and to conduct experiments with subgroups, small groups and large group of mathayomsuksa 6 students. To find The efficiency: the instruments used in research were the instructional packages of cooperative learning by using case study. The second step was to compare analytical thinking on before and after learning with the sample of 43 mathayomsuksa 6 students from Chalermkwansatree School who were studying semester 2, academic year 2014. The example groups of this research, were employed by simple random sampling. The instrument used was the measurement of analytical thinking. The third step was to study the satisfaction of the students by the instructional packages of cooperative learning. The instrument used in research was an evaluation form for student satisfaction towards the instructional packages of cooperative learning. The research findings are as follows:

        1.  Three instructional packages have 80.67/81.85 82.67/82.59 and 84.00/83.70 respectively with the efficiency criteria 80/80.

        2.  The student showed higher achievement after learning than before learning by the instructional packages to strengthen analytical thinking on business in daily life at statistical significance level of .01.

        3.  The students have a high level of instructional packages satisfaction.

Keywords: Instructional Packages, Case Study, Analytical Thinking, Business in Daily Life

Article Details

How to Cite
ภู่น้อย ส., สิทธิสมบูรณ์ ม., & อ่อนธานี อ. (2016). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กรณีตัวอย่าง เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ เรื่องธุรกิจในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 18(2), 245–253. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61086
Section
Research Articles