การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ภัทราภรณ์ อินทยุง
จักรกฤษณ์ สมพงษ์
อังคณา อ่อนธานี

Abstract

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดย 2.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัด ระหว่างก่อนและหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง จำนวน 5 แผน รวมทั้งหมดจำนวน 12 ชั่วโมง แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัด ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงแบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที

       ผลการวิจัย พบว่า

       1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีกระบวนการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการ เรียนรู้ตามสภาพจริง 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เผชิญสถานการณ์จริง ปัญหา/หรือสถานการณ์จำลอง ขั้นตอนที่ 2 ระบุปัญหา ขั้นตอนที่ 3 คิดวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 4 วางแผนการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ 5 ปฏิบัติตามแผน และขั้นตอนที่ 6 การเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวัน โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ประเมินว่ากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.69, S.D. = 0.10) และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.67, S.D. = 0.18) และเมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง พบว่ากิจกรรมมีการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงมีดัชนีประสิทธิผลด้านความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เท่ากับ 0.6007 คิดเป็นร้อยละ 60.07 และมีดัชนีประสิทธิผลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัด เท่ากับ 0.5649 คิดเป็นร้อยละ 56.49 ซึ่งดัชนีประสิทธิผลเป็นค่าแสดงความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยค่าดัชนีประสิทธิผลควรมีค่า 0.5 ขึ้นไป (กรมวิชาการ, 2545, หน้า 58) 

       2. ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในแต่ละขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.06 โดยขั้นตอนการเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือร้อยละ 88.70

       3. ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัด หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้ตามสภาพจริง, ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน

THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BASED ON AUTHENTIC LEARNING APPROACH TO ENHANCE THE COMPETENCY OF MATHEMATICAL LINKING IN DAILY LIFE ON THE TOPIC OF MEASUREMENT OF MATTAYOMSUKSA 2 STUDENTS

          The purposes of this research were 1) to construct and find effectiveness index of learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking in daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students, 2) to implement learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking in daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students by 2.1) study the competency of mathematical linking in daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students, 2.2) compare the competency of mathematical linking in daily life before and after using learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking in daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students, and 2.3) compare achievement in measurement before and after using learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking in daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students. There were two steps of research and development as follows. The first step developing and finding the effectiveness index of learning activities based on authentic learning. Five activities for 12 hours developing and evaluated for their suitability by five experts and then activities were used with Mattayomsuksa 2 students to find the index of the effectiveness. The research instruments were learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of linking mathematics and daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students, evaluation forms related to the suitability of the activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking in daily life, and learning achievement forms in relation with measurement. The second step was implementing learning activities based on authentic learning. The sample group was 40 students in Mattayomsuksa 2 students, first semester, academic year 2014 at Phichitpittayakom School. One Group Pretest-Posttest Design was used to find mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows:

       1. Learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking in daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students contains with six steps. Step 1, face real situations/ problems or simulations. Step 2, identify problems. Step 3, find solutions. Step 4, plan. Step 5, take an action according to the plan, Step 6, and linking this method to daily life. The evaluation by five experts showed that these activities were suitable at the highest level (\bar{x}= 4.69, S.D. = 0.10) learning activity based on authentic learning plans were suitable at the highest level (\bar{x}= 4.67, S.D. = 0.18). When using the activities with the sample group, it found that learning activities based on authentic learning had the index of effectiveness the competency of mathematical linking in daily life equal to 0.6007 or 60.07% and the index of learning achievement in measurement equal to 0.5649 or 56.49 %. The result of the effectiveness index indicates the advancement of the learners. The score of the effectiveness index should increase by at least 0.5 (Academic Department, 2002, p.58).

       2. The competency of linking mathematics and daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students in each step in learning activities based on authentic learning accounted overall for 87.06%. The stage of linking to daily life had the highest percentage, which accounted for 88.70%  

       3. The competency of linking mathematics and daily life after learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of mathematical linking daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students was significant higher than before learning with the activities at the level of 0.01

       4. Learning achievement in measurement after learning activities based on authentic learning approach to enhance the competency of linking mathematics and daily life on the topic of measurement of Mattayomsuksa 2 students was significant higher than before learning with the activities at the level of 0.01

Key words: Learning Activity, Authentic Learning, Mathematical the Competency of Mathematical Linking in Daily Life

 

Article Details

How to Cite
อินทยุง ภ., สมพงษ์ จ., & อ่อนธานี อ. (2016). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Education and Innovation, 18(2), 230–244. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/61290
Section
Research Articles