การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (INTEGRATED E-LEARNING COURSE) สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี

Main Article Content

หรรษา เศรษฐบุปผา
สมบัติ สกุลพรรณ์
สุวิท อินทอง

Abstract

           ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการสื่อ อิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงได้แก่ นักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจและแบบประเมินปัญหาและอุปสรรคของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที แบบเป็นอิสระต่อกัน และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบแทนที่ทั้งหมด และแบบนำมาประกอบกัน ต้องประกอบด้วย เนื้อหา และการเตรียมเนื้อหา กระบวนการในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการวัดและการประเมินผล 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มนักศึกษาที่เข้าเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบแทนที่ทั้งหมด (full/comprehensive replacement) มีค่าสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เข้าเรียนตามรูปแบบนำมาประกอบกัน (Hybrid type) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3) นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลางค่อนข้างสูง และพึงพอใจที่สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา 4) ปัญหาอุปสรรคพบว่าระบบเครือข่ายอาจเข้าถึงได้ยาก ผลการศึกษานี้ นับเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

 

DEVELOPMENT OF THE INTEGRATED E-LEARNING COURSE FOR 
UNDERGRADUATE NURSING STUDENTS

          Technology and informatics systems are significant for learning in 21st century. This research aimed to develop an integrated e-Learning course for undergraduate students
(ie-Learning model) and to test its effectiveness. Purposively selected samples were 151 undergraduate nursing students. Instruments used were Demographic Data Forms, Study Achievement Forms, Learning Satisfaction Forms, and a Barrier and Obstacles in Learning Questionnaire. Descriptive statistics and t-test were used for quantitative data analysis and content analysis was used for the qualitative part. The results demonstrate that 1) both models (Hybrid and Full/Comprehensive replacement) of integrated e-Learning courses for undergraduate students must have content, content preparation, learning system, communication, and measurement and evaluation, 2) study achievement of full/ comprehensive replacement group were significantly higher than those of hybrid group (p<.05), 3) learning satisfaction were at a moderate to high level, where the satisfaction was related to “anytime/anywhere learning experience”, and 4) hard to access to the internet was counted as barrier for learning. The ie-Learning model from this study is a learning innovation for undergraduate students, which will be an alternative strategy for 21st century learning.

Article Details

How to Cite
เศรษฐบุปผา ห., สกุลพรรณ์ ส., & อินทอง ส. (2016). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (INTEGRATED E-LEARNING COURSE) สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. Journal of Education and Innovation, 18(3), 1–11. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66584
Section
Research Articles