การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์ในกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียน ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่ผ่านการทำกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนนอกห้องเรียน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนอกห้องเรียนของนักศึกษาครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 45 คน ในรายวิชาจิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้การวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีการดำเนินการวิจัยใน 2 แนวทาง คือ ผสานการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนอกห้องเรียน
2) ชุดคำถามสัมภาษณ์และการเขียนเล่าประสบการณ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้งานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ทัศนคติต่อบทบาทหน้าที่และลักษณะงานของครูแนะแนวในโรงเรียน, ประสบการณ์ในกิจกรรมแนะแนวที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและความสามารถในการเชื่องโยงบริการแนะแนวมาใช้ในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพิ่มขึ้น ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในส่วนของผลการวิจัยเชิงคุณภาพ สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณที่ว่าหลังร่วมกิจกรรมนักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่กว้างขึ้นและมีมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมและตระหนักถึงความสำคัญของงานแนะแนวในด้านการทำงานประสานกันเป็นทีมสหวิชาชีพในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีคุณภาพ ประสบการณ์ตรงที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงมีผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีขึ้นสามารถเชื่อมโยงความรู้จากภาคทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติจริงนำไปใช้ในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
KNOWLEDGE, ATTITUDE AND EXPERIENCE IN SCHOOL GUIDANCE ACTIVITY OF STUDENTS OF THE FACULTY OF EDUCATION PARTICIPATING
IN OUT-OF-CLASS ACTIVITIES
This study aimed to compare knowledge, attitude and experience in guidance activities in schools before and after participating in an out-of-class activity on guidance and student care system management. The sample were 45 third year students from the Faculty of Education enrolled in the Psychology and Counseling for Teachers Course at Songkhla Rajabhat University in the Academic Year B.E. 2558. The study applied Mixed Methods Research, in which quantitative and qualitative data were merged. Instruments in this study included 1) anonymous and self-administered questionnaires used before and after out-of-class guidance activities, and 2) a series of interviews and free writing about experiences after the activity. The Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test for statistical analysis to compare scores before and after participating in out-of-class activities and content analysis were employed.
The research found that knowledge regarding guidance and student care system, attitudes towards the role and nature of the guidance counselor at school, holistic view of guidance that could be applied in teaching practicum and ability to elaborate more guidance services in helping learners before and after participating in out-of-class activity were significantly different at the 0.01level. The results of qualitative research supported quantitative data in the way that after participating in out-of-class activities the students could learn more widely, had changed their visions, and realized the importance of guidance in terms of multidisciplinary team work in providing effective student care services. First-hand experience from real situations better influenced the change in students’ attitude and enabled them to apply theories into practice. This helped the students to provide care and support for learners more effectively.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.