การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็ก มาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

สงบ วงศ์กลม
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้ที่เกี่ยวข้องระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา คือผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ผลการวิจัย พบว่า

           1. การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 สมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีสมรรถนะย่อย 5 สมรรถนะ กลุ่มที่ 2 สมรรถนะด้านทักษะการนำและจิตบริการ มีสมรรถนะย่อย 4 สมรรถนะ และกลุ่มที่ 3 สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ มีสมรรถนะย่อย 2 สมรรถนะ ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 2) ขั้นออกแบบโปรแกรม/หลักสูตรในการพัฒนาบุคลากร 3) ขั้นการจัดทำแผนพัฒนารายสมรรถนะ 4) ขั้นดำเนินการพัฒนาตามแผน 5) ขั้นการประเมินผลและติดตามผลการพัฒนา โดยในแต่ละขั้นตอนจะประกอบด้วย บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้อง แนวดำเนินการ และผลที่ได้รับ

           2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม เห็นว่าสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวม มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติจริง ระดับมากที่สุด ในขณะที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่า สมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวมมีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติจริง ระดับมากที่สุด และการนำแนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็กมาควบรวมไปปฏิบัติจริง เห็นว่ามีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ ระดับมาก

 

DEVELOPING ADMINISTRATIVE COMPETENCY IN THE SCHOOL WITH SMALL-SIZED CONSOLIDATED SCHOOLS UNDER THE PRIMARY EDUCATIONAL
SERVICE AREA OFFICE

           The main objective of this research was to develop competency of the administrators in the schools with small-sized consolidated schools under the Office of Primary Education Service Area.  The research procedure followed three phases. Phase 1: studying the competency and ways of competency development. This phase consisted of two steps: 1) analyzing and synthesizing documents and research for concepts, and theories on competencies and ways of developing the administrators, and 2) interviewing experts on the competencies and ways of competency development. Phase 2: constructing and validating the competency development through Focus Group Discussion. Phase 3: evaluating the competency development through Focus Group Discussion among those who are involved at the administrative level of the Primary Education Service Area Office and the administrators of the consolidated small-sized schools. The research findings are as follows:

           1. The competency development of the administrators in the schools with small-sized consolidated schools under the Office of Primary Education Service Area consists of two components. Component 1: identification of the competencies, consisting of three competency clusters. Cluster 1: personal competency with five sub-competencies; cluster 2: leading skills and service mind competency with four sub-competencies. Cluster 3: administrative management competency with two sub-competencies. Component 2: ways of the competency development of the administrators, which consists of five steps: 1) needs assessment regarding the development, 2) program/curriculum design for the development, 3) creating development plans for individual competencies, 4) implementing the development plan, and 5) evaluation and follow-up of the development, each of these individual steps regards the roles of those involved as well as guidelines for the operation and the outcome.

           2. The administrators of the schools with consolidated small-sized schools regarded the administrative competency development very high in terms of feasibility and usefulness in authentic settings. As for the competency, those involved at the administrative level regarded the competency development very high as well in terms of performance and benefit.

Article Details

How to Cite
วงศ์กลม ส., & กอนพ่วง อ. (2016). การพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีโรงเรียนขนาดเล็ก มาควบรวม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 18(3), 73–85. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66588
Section
Research Articles