การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

เกียรติสุดา กาศเกษม
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยวิธีการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) เพื่อดำเนินการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยวิธีการศึกษาบริบทของชุมชน การเตรียมทีมวิจัย การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน การจัดทำแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และประเมินผลการปฏิบัติงาน
3) เพื่อถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยวิธีการประชุมแบบไม่เป็นทางการและใช้แบบสอบถามปลายเปิด

           ในบทความเรื่องนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 คือ การศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยวิธีการศึกษาเอกสาร และค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่ หนังสือ บทความทางวิชาการ งานวิจัย แหล่งข้อมูลออนไลน์จากอินเตอร์เน็ต และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษาสังกัดเทศบาล และผู้แทนชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ซึ่งผู้วิจัยจะดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 2 และ 3 เป็นขั้นตอนต่อไปตามลำดับผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

           ผลการศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น พบว่า มีองค์ประกอบหลักในการพัฒนาให้ชุมชนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีผู้นำที่ดี 2) มีความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน 3) การมีแนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง 4) มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและนอกชุมชน และ 5) มีการสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศ จัดเก็บ และการนำองค์ความรู้ที่ดีมาใช้

 

LOCAL LEARNING COMMUNITY DEVELOPMENT WITH
PARTICIPATORY ACTION RESEARCH

           The research aimed to develop the local learning community in the municipal schools (in Thailand) by conducting the research with the participatory action research (PAR) approach. The specific objectives of the research were: 1) to study the components of the local learning community using the methods of documentary analysis and interviews of experts, 2) to develop the local learning community in the municipal schools using PAR as qualitative research for community context study, problems and need assessment of the community, planning process and the implementation of the plan, and the performance evaluation, and 3) to derive the lesson of effective indicators for the local learning community using informal meetings and a survey based on an open-ended questionnaire.

           This article concluded the findings of Step 1 in studying the components of a local learning community. The intensive documentary analyses included many printed materials, such as books, journal articles, related research studies and online documents. The interviews with ten experts were related to higher educational institutions: professors, municipal mayors, educationists and local community leaders. The research relating Step 2 and Step 3 are on-going.

           The results of the research revealed that there are five components supporting the development of a local learning community: 1) effective local leaders, 2) collaboration among community members, 3) practical learning processes and procedures for community problem solving and continuity of community development, 4) collaborative networks both inside and outside the community, and 5) the development of an MIS system to better utilize knowledge.

Article Details

How to Cite
กาศเกษม เ., & ชาตรูประชีวิน ฉ. (2016). การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. Journal of Education and Innovation, 18(3), 112–124. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66591
Section
Research Articles