การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

วรรณากร พรประเสริฐ
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาการสำเร็จการศึกษาและตัวแปรจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร 2) ศึกษาตัวแปรที่ดีที่สุดในการจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษาและสร้างสมการจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก2 กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 – 2554 จำนวน 159 คน ที่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร จำนวน 53 คน และไม่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาของหลักสูตร จำนวน 106 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับตัวแปรจำแนกการสำเร็จการศึกษา และตอนที่ 3 แบบสอบถามข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่ม ซึ่งคำนวณโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า

           1. ตัวแปรจำแนกกลุ่มนิสิตที่สำเร็จการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง
(\bar{x}=3.31, S.D.=0.41) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด 2 อันดับแรก คือ ความสามารถด้านการวิจัย
(\bar{x}=3.70, S.D.=0.47) รองลงมาคือการวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ (\bar{x}=3.60, S.D.=0.68) และตัวแปรจำแนกกลุ่มนิสิตที่ไม่สำเร็จการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}=2.87, S.D.=0.35) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด 2 อันดับแรก คือ คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา
(\bar{x}=3.14, S.D.=0.72) รองลงมาคือความสามารถด้านการวิจัย (\bar{x}=3.13, S.D.=0.61)

           2. ตัวแปรที่ดีที่สุดในการจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ความสามารถด้านการวิจัย การวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ และแหล่งเอื้ออำนวยทางวิชาการ ซึ่งเขียนเป็นสมการจำแนกในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

           สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ

           Y = -7.769 + 1.236X2 + .718X3 + .506X5

           สมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนมาตรฐาน

           ZY = .699ZX2 + .518ZX3 + .427ZX5

 

DISCRIMINANT ANALYSIS OF GRADUATE STUDENTS' DATA 
AT NARESUAN UNIVERSITY

           The purpose of this research were 1) To study the graduation and discriminant functions of the graduate students in Naresuan University, and 2) To determine the best variables discriminating the graduation of the graduate students in Naresuan University and to develop discriminant function. For data gathering, 159 graduate students of master degree level with plan A type A2 in humanity and social science group were selected as sample group. Such above students enrolled in academic year 2007 – 2011 whereas 53 students graduated within-due-time and 106 students graduated after-due-time with selected from a convenience Sampling. Research tool was a questionnaire of 3 parts as follows; first part was general questions, second part was questions for discriminant variables of the graduation and third part was question for additional suggestion. Statistic for data analysis consisted of mean, standard deviation and discriminant analysis which computed via program. The result revealed that;

           1. The variables discriminating the graduation within-due-time of the graduate students showed perception in overall is in an average (\bar{x}=3.31, S.D. = 0.41). When each aspect was considered, the two highest mean are the ability in research (\bar{x}=3.70, S.D. = 0.47) and thesis planning (\bar{x}=3.60, S.D. = 0.68). Moreover, the variables discriminating the graduation after-due-time of the graduate students showed perception in overall is in an average (\bar{x}=2.87, S.D. = 0.35). When each aspect was considered, the two highest mean are the characteristics of advisers (\bar{x}=3.14, S.D. = 0.72) and the ability in research (\bar{x}= 3.13, S.D. = 0.61).

           2. The best variables discriminating the graduation of Naresuan University’s graduate students comprised of ability in research, thesis planning and academic facilities.Discriminant function could show in raw score and standard score as follows.

           For discriminant function showed in raw score,

           Y = -7.769 + 1.236X2 + .718X3 + .506X5

           For discriminant function showed in standard score,

           ZY = .699ZX2 + .518ZX3 + .427ZX5

Article Details

How to Cite
พรประเสริฐ ว., & พานิชย์ผลินไชย เ. (2016). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Education and Innovation, 18(3), 158–173. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66598
Section
Research Articles