การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดอภิปัญญาวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พีระยุทธ สุขสำราญ
ภัทรภร ชัยประเสริฐ
สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาชีววิทยา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาชีววิทยา หลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ความคิดอภิปัญญาของนักเรียน วิชาชีววิทยา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา 4) ความคิดอภิปัญญาของนักเรียน วิชาชีววิทยา หลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 75  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 43 คน จากโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเชื่อมั่น 0.93 และแบบวัดความคิดอภิปัญญาวิชาชีววิทยา
มีความเชื่อมั่น 0.94 ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า

           1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           3. นักเรียนมีความคิดอภิปัญญาวิชาชีววิทยา  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           4. นักเรียนมีความคิดอภิปัญญาวิชาชีววิทยา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


A STUDY OF BIOLOGY LEARNING ACHIEVEMENT AND METACOGNITION USING CONSTRUCTIONISM THEORY ON BIODIVERSITY FOR GRADE 12 STUDENTS

           The purposes of this research were to compare: 1) Biology learning achievement of students before and after learning using constructionism theory and metacognition,
2) biology learning achievement of students after learning using constructionism theory with a criterion of 75%, 3) metacognition of students before and after learning using constructionism theory and metacognition, and 4) metacognition of students after learning using constructionism theory with a criterion of 75%. The samples in this research were 43 of grade 12 students at Phanatpittayakarn School Chonburi Province, enrolled in the second semester of 2014 academic year. The samples were selected by cluster random sampling. The research instruments consisted of constructionism theory and metacognition lesson plans in biodiversity, learning achievement test in biodiversity with the reliability value of 0.93 and metacognition test with the reliability value of 0.94. The collected data were statistically analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows:

           1. The students had biology learning achievement in biodiversity after learning higher than before learning with a statistically significant at the .05 level.

           2. The students had biology learning achievement in biodiversity after learning higher than 75 percent as criteria at the .05 level of significance.

           3. The students had metacognition in biodiversity after learning higher than before learning with a statistically significant at the .05 level.

           4. The students had metacognition in biodiversity after learning higher than 75 percent as criteria at the .05 level of significance.

Article Details

How to Cite
สุขสำราญ พ., ชัยประเสริฐ ภ., & ศรีแสนยงค์ ส. (2016). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดอภิปัญญาวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 18(3), 189–201. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66605
Section
Research Articles