การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนหลังการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2. ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
THE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT AND SCIENTIFIC ANALYTICAL THINKING SKILLS ON “CELL” BY USING CONSTRUCTIONISM THEORY FOR GRADE 10 STUDENTS
This research aims to compare the learning achievement and scientific analytical thinking skills on “cell” before and after learning by using Constructionism theory for grade 10 students. In the second semester of academic year 2014 at “Piboonbumpen” Demonstration school, Burapha University. The samples of the study were obtained classroom by cluster random sampling. The research instruments were the lesson plans on cell learning achievement test and the scientific analytical thinking skills test. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and dependent t-test. The research findings were summarized as follows:
1. The post-test mean scores of biology learning achievement on “cell” after by learning using Constructionism theory for grade 10 students were higher than pre-test mean scores at.05 level of significance.
2. The post-test mean scores of scientific analytical thinking skills on science on “cell” by learning using Constructionism theory for grade 10 students were higher than pre-test mean scores at.05 level of significance.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.