การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรีไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ยุดาวดี สุขมาก
นพมณี เชื้อวัชรินทร์
สพลณภัทร ศรีแสนยงค์

Abstract

           การศึกษาวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อม ไร้ท่อระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรีไลน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรีไลน์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรีไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ จำนวน 10 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

           1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          

           3. เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบสตอรีไลน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

THE STUDY OF BIOLOGY LEARNING ACHIEVEMENT AND ATTITUDE TOWARDS SCIENCE SUBJECT ON THE TOPIC “ENDOCRINE SYSTEM” USING THE STORYLINE METHOD OF 11th GRADE STUDENTS

           The objectives of this research were 1) to compare the Biology Learning Achievement on endocrine system between pre-test and post-test using storyline method, 2) to compare the Biology Learning Achievement on endocrine system between post-test and criterion when using storyline method, and 3) to compare Attitude towards Science subject between pre-test and post-test using storyline method. The sample for this research consisted of forty - four 11th grade students from Datdarunee School at Chachoengsao province in the second semester of 2014. The sample was randomly selected for the experimental group using cluster random sampling. The research instruments were 1) ten lesson plans for 12 hours using storyline method on endocrine system, 2) a 40-items, multiple choice learning achievement tests of biology on endocrine system, and 3) a 25-items, 5-scale Attitude towards Science subject tests. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test. The results of this study indicated that:

           1. The post-test mean scores of Biology Learning Achievement of forty - four 11th grade students after using storyline method were higher than pre-test mean scores of that at the statistically significant .05 level.

           2. The post-test mean scores of Biology Learning Achievement of forty - four 11th grade students after using storyline method were higher than 70 percent criterion of that at the statistically significant .05 level.

           3. Attitude Towards Science subject of forty - four 11th grade students after using storyline method were higher than pre-test mean scores of that at the statistically significant .05 level.

Article Details

How to Cite
สุขมาก ย., เชื้อวัชรินทร์ น., & ศรีแสนยงค์ ส. (2016). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรีไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education and Innovation, 18(3), 213–225. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66610
Section
Research Articles