การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อทดสอบความแปรเปลี่ยนรูปแบบและพารามิเตอร์ของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ตามขนาดโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 914 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.73 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามข้อมูลนักเรียนด้านความเชื่อมั่นในตนเอง บรรยากาศในชั้นเรียน สัมพันธภาพกับเพื่อน คุณภาพการสอนของครู เจตคติต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความเที่ยงทั้งฉบับ .82, .81, .80, .92, .93 และ .89 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การตรวจสอบความตรงของโมเดลและการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย
เขต 2 พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบและพารามิเตอร์ในโมเดลการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า โมเดลมีความแปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและพารามิเตอร์ ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
CAUSAL MODEL DEVELOPMENT FACTORS INFLUENCING COMPUTER ACHIEVEMENT OF PRATHOM 6 STUDENT SCHOOL IN THE LOEI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2: A MULTIPLE GROUP ANALYSIS
The purpose of this research were 1) to develop and validate the causal model development factor influencing Computer achievement of Prathom 6 student school in the Loei primary education service are office 2 and, 2) to test the model and parameter invariant between small group, middle group and large group of schools. The research sample consisted of 914 students from Prathom 6 student school in the Loei primary education service are office 2, obtaining from multi-stage random sampling. The research instruments were computer achievement test with difficulties ranged from .30 to .67, discriminating powers ranged from .36 to .73 and a reliability of .91 and consisted students questionnaire about self-confidence, classroom climate, peer relation, quality teaching, attitude towards computer and achievement motivation with reliabilities of .82, .81, .80, .92, .93 and .89, respectively. Data analyses employed descriptive statistics, a goodness of fit test and a multi-group analysis. The results of the study were as follows:
1. The development and goodness of fit test result of the model revealed that the model was consistent with the empirical data significant at the .01
2. The invariance test of the model and parameter result of the factor model influencing computer achievement of Prathom 6 student school in the Loei primary education service are office 2 showed that there was an variance between small group, middle group and large group of schools significant at the .01.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.