การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ใกล้รุ่ง คำภิลานน
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
สายฝน วิบูลรังสรรค์

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำข้อมูลและสารสนเทศมาตัดสินใจในการออกแบบและกำหนดองค์ประกอบหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนผู้วิจัยสำรวจความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิจิตร จำนวน 363 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการด้านสุขภาพ จำนวน 6 ท่าน นักการศึกษา จำนวน 2 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและนำหลักสูตรไปทดลองนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังโมกข์พิทยาคม จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ใช้เวลาทดลอง 20 ชั่วโมง โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างบรรยากาศการเรียน 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การตัดสินใจ
4) การนำเสนอความรู้ และ 5) การนำไปใช้ในชีวิตจริง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลหลักสูตร โดยสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนและสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า

           1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีระดับความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน ในภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดีพอ คิดเป็นร้อยละ 50.69 มีพฤติกรรมความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนระดับพื้นฐานอยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 49.31 ระดับปฏิสัมพันธ์อยู่ในระดับไม่ดีพอคิดเป็นร้อยละ 76.58 ระดับวิจารณญาณอยู่ในระดับพอใช้คิดเป็นร้อยละ 57.85 และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับไม่ดีพอ คิดเป็นร้อยละ 50.96

           2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร พบว่า หลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สภาพปัญหาและความต้องการ
2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างหลักสูตร 5) กำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) คำอธิบายรายวิชา 7) สาระการเรียนรู้ 8) คำอธิบายหน่วยการเรียนรู้ 9) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 10) แนวการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 11) แนวการวัดและประเมินผล แบ่งเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคอ้วน 2) ผลกระทบของโรคอ้วน 3) การดูแลรักษาโรคอ้วน และ 4) วางแผนชีวิตไร้โรคอ้วน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างบรรยากาศการเรียน 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การตัดสินใจ 4) การนำเสนอความรู้ และ 5) การนำไปใช้ในชีวิตจริง การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน ได้แก่ นักการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 ท่าน นักการศึกษาด้านวัดและประเมินผลการศึกษา จำนวน 3 ท่าน และนักวิชาการด้านสุขภาพ จำนวน 3 ท่าน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลการนำหลักสูตรไปทดลองนำร่องกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เป็นนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างและไม่ซ้ำกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 จำนวน 30 คน และคำนวณหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผลของเท่ากับ 0.5227 หรือคิดเป็นร้อยละ 52.27 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด คือ ร้อยละ 50 หรือค่าดัชนีประสิทธิผลมากกว่า 0.50 ขึ้นไป แสดงว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้จริง

           3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 1) นักเรียนมีความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นกับนักเรียน ได้แก่ 1) นักเรียนมีความสามารถในการทำงานร่วมกับเพื่อน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน และมีกระบวนการทำงานกลุ่มดีขึ้น และ 2) นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้

           4. ผลการประเมินผลหลักสูตร พบว่า 1) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.53, S.D. = 0.65) โดยเห็นว่านักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมของหลักสูตรช่วยทำให้นักเรียนมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก นักเรียนชอบที่ได้สะท้อนการเรียนรู้โดยการเรียนหรือการพูด ชอบที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และ 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก โดยเห็นว่า เป็นหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหาของสังคม สาระการเรียนรู้ของหลักสูตร มีประโยชน์ต่อนักเรียนทำให้นักเรียนได้เข้าใจโรคอ้วนได้เป็นอย่างดี กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มทำให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองรวมทั้งการแนะนำให้กับบุคคลรอบข้างได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

THE DEVELOPMENT OF CURRICULUM TO PROMOTE HEALTH LITERACY IN OBESITY FOR MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS

           This study was conducted with a research and development methodology comprising four steps in the curriculum development process: Step 1: studying the situation and needs due to the health literacy relating obesity of Matthayomsuksa 3 students, which have been used for designing the curriculum and attaining curriculum components. In this step, three different groups of key informants were used: three health educators, a curriculum and instruction educator and administration educator, and 363 students of three different schools in Phichit Province to observe the level of obesity among them. Step 2: constructing and verifying curriculum quality with the concurrence of the experts in Education and curriculum taken to do pilot study for the feasibility. Step 3: implementing the curriculum with the sample group of 31 Matthayomsuksa 3 students, studying in the second semester of the 2014 at Wangmokepittayakom School, Phichit Province selected by cluster random sampling. Twenty hours have been used for the implementation, and the instruction was applied by using five steps of the Group Investigation Instructional Model: the first is ‘motivate for learning’; the second is ‘Information gathering’; the third is ‘to be resolving’ the fourth is ‘present the knowledge’; and the last is ‘applying in real life’. Step 4: evaluating the students’ and stakeholders’ opinions towards the curriculum with evaluation forms and interviews.  Quantitative data was analyzed with percentage, mean, standard deviation, and t-test whereas qualitative data was analyzed by content analysis. The results of the study are as follows:

           1. The result regarding health literacy on obesity by Matthayomsuksa 3 students were low at a percentage of 50.69. Students’ behavior of the functional health literacy in obesity were also low at a percentage of 49.31. Interactive Health literacy in obesity were moderately percentage 76.58. The level of Critical Health Literacy in obesity was moderate at 57.85 and Student’s behavior prevention obesity were not good (at a percentage of 50.96).

           2. The curriculum to promote health literacy in obesity for Matthayomsuksa 3 students consisted of 11 components: problems and needs, rationale, goals, curriculum structure, schedule of learning activities, course description, contents, description of learning units, learning activities, media and learning resources, and evaluation. The curriculum was divided into four unit plans. The curriculum and supplementary documents were appropriate at a high level. The curriculum was then piloted for further improvement to be implemented

           3. The implementation of the curriculum showed that 1) students’ health literacy in obesity was higher with a statistically significant level of .05; 2) students’ behavior regarding the prevention of obesity was higher with a statistically significant level of .05. Moreover, the students’ changes showed that 1) they obtained ability to collaborate with friends, they could exchange knowledge with friends and they could improve work group processes, and 2) the students participated in the learning process and enjoyed it.

           4. The evaluation of the curriculum found that 1) students’ opinion was at the highest level (\bar{x}= 4.53, S.D. = 0.65), and 2) the stakeholders’ opinion was at the highest level. The curriculum was intended to correspond to the current problems of society. Course content was beneficial to students and allowed students to understand obesity well. The instruction allowed students to know how to work with others and to put their knowledge into practice.

Article Details

How to Cite
คำภิลานน ใ., ธำรงโสตถิสกุล ว., & วิบูลรังสรรค์ ส. (2016). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Education and Innovation, 18(3), 250–264. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66619
Section
Research Articles