การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีเพศและสาขาวิทยาศาสตร์ที่สอนต่างกัน

Main Article Content

อัญธิกา ราชบุรี
น้อย เนียมสา

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 169 ที่มีเพศและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่สอน (เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์) แตกต่างกัน จากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 สุรินทร์ ปีการศึกษา 2557 โดยได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน
3 ด้าน คือ 1) การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 ข้อ 2) การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์จำนวน 10 ข้อ และ 3)การรับรู้เกี่ยวกับปรัชญาวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ F – test (Two – way MANOVA และ ANOVA)

           ผลการวิจัยพบว่า ครูวิทยาศาสตร์โดยรวม และจำแนกตามเพศและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ระดับมากถึงมากที่สุดมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 80.82 ของจำนวนครูวิทยาศาสตร์ทั้งหมด
ครูวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ระดับมากถึงมากที่สุดมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 80.30 ของครูวิทยาศาสตร์ทั้งหมด และครูวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ในระดับไม่แน่ใจ มีจำนวนไม่เกินร้อยละ 61.61 ของจำนวนครูวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ต่างกันมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยครูสอนสาขาวิชาชีววิทยาและครูสอนสาขาวิชาฟิสิกส์มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์มากกว่าครูสอนสาขาวิชาเคมี แต่ครูที่สอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ต่างกันมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ไม่ต่างกัน ครูวิทยาศาสตร์ที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยครูวิทยาศาสตร์เพศชายมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากกว่า แต่มีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์น้อยกว่าครูวิทยาศาสตร์เพศหญิง และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่สอนเฉพาะการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์


THE NATURE OF SCIENCE AND THE PHILOSOPHY OF SCIENCE AS PERCEIVED BY SENIOR HIGH SCIENCE TEACHERS WITH DIFFERENT SEXES AND SCIENCE DISCIPLINES TAUGHT

           This research aimed to study and compare perception of the nature of science, misperceptions of the nature of science and perceptions of the philosophy of science of 169 senior high science teachers as a whole and as classified according to sex and science discipline taught (chemistry, biology and physics) who worked at senior high schools under the Office Secondary Educational at Service Area, Zone 33, in Surin province in the academic year 2014. They were selected using the stratified random sampling technique. The rating -scale questionnaire was used for data collection which consisted of 3 subscales: perceptions of the natural of sciences with 35 items, misperceptions of the nature of science with 10 items, and perceptions of the philosophy of science with 20 items. The collected data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and for testing hypotheses the F-test (Two-way MANOVA and ANOVA) were employed.

           The results of research revealed that of science teachers as a whole and as classified according to sex and science disciplines taught showed perceptions of the nature of science no more than the percent 80.82 at the strongly agreed level. The small to the large number of all groups of science teachers indicated perceptions of the philosophy of science at the agreed to the strongly agreed level no more than the percent 61.61. The medium to the large number of all groups of science teachers indicated misperceptions of the nature of science in and the small to the large number of science teachers evidenced at the uncertain level no more than the percent 80.30 Science teachers with different science disciplines taught showed perceptions of the different nature of science. The biology teachers and the physics teachers showed more perceptions of the nature of science than the chemistry teachers. However, these three groups of science teachers did not evidence different misperceptions of the nature of science and perceptions of the philosophy of science. Science Teachers with Different Sexes showed more perceptions of the nature of science misperceptions of the nature of science, and perceptions of the different philosophy of science. The male science teachers showed more perceptions of the nature of science and the perceptions of the philosophy of science but showed less misperceptions of the nature of science than the female science teachers. And there were statistical interactions of sex with science discipline taught on perceptions of the nature of science, misperceptions of the nature of science, and perceptions of the philosophy of science.

Article Details

How to Cite
ราชบุรี อ., & เนียมสา น. (2016). การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีเพศและสาขาวิทยาศาสตร์ที่สอนต่างกัน. Journal of Education and Innovation, 18(3), 276–291. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66624
Section
Research Articles