รูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

วิวัฒน์ อ้นน่วม
วิทยา จันทร์ศิลา
สำราญ มีแจ้ง
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา วิธีการวิจัยคือ การวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จากการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูโดยการยกร่างและประชุมสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูโดยการสอบถามผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 

           1. สภาพและแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 1) นโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะครูของกระทรวงศึกษาธิการ 2)สมรรถนะครู ด้านสมรรถนะประจำสายงาน 3) กิจกรรมในการพัฒนาสมรรถนะครูโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 4) วิธีการและกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

           2. รูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) นโยบายในการส่งเสริมการพัฒนา ประกอบด้วย การจัดระบบสรรหาคนเก่งคนดีเข้าสู่วิชาชีพครู การจัดระบบในการพัฒนาครูประจำการ การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครู และการกระจายอำนาจในการปฏิบัติงานของครู 2) สมรรถนะครู ประกอบด้วย ด้านความรู้ 3 สมรรถนะ ด้านเจตคติ 3 สมรรถนะ ด้านทักษะ 7 สมรรถนะ รวมทั้งสิ้น 13 สมรรถนะ 3) กิจกรรมการพัฒนา ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ การพัฒนาเจตคติ และการพัฒนาทักษะ 4) กระบวนการส่งเสริมการพัฒนา ประกอบด้วย การวางแผนการพัฒนา การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนา การปรับปรุงแก้ไข          

           3. ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปรากฏว่ามีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ

 

A DEVELOPMENTAL MODEL FOR ENHANCING PRIMARY TEACHERS’ COMPETENCIES UNDER THE OFFICE OF EDUCATION SERVICE AREAS

           This research aimed to develop a model for enhancing primary teachers’ competencies under the Offices of Primary Educational Areas. The research, characterized as research and development, followed three steps: 1) studying the present status and ways of enhancing teachers’ competencies through the synthesis of related documents and interviews of purposively selected experts, 2) constructing a developmental model for enhancing primary teachers’ competencies  by drafting a tentative model and verifying it through focus group discussion of the experts, and 3) evaluating the possibility of implementation of the constructed model in the schools by surveying the opinions of all the directors of the Office of Education Service Areas. The research concluded that:

           1. The present status and ways of enhancing teachers’ competencies in the school under the offices of Primary Educational Service Areas consisted of: 1) the policy to enhance the competencies of the teachers under the Ministry of Education, 2) the competencies required by the teachers, 3) activities to develop the teachers’ competencies, and 4) methods and processes of enhancing the teachers’ competencies by the Office of Education Service Areas.

           2. The constructed model for enhancing the development of teachers’ competencies consists of four principal components: 1) the policy to enhance the development comprises system management of recruiting competent and decent applicants for the teaching profession, system management of the in-service development for the teachers, promoting teachers’ instructions, and empowering the teachers for their performance, 2) the teachers’ competencies consists of the knowledge (three elements), attitude (three elements), and skills (seven elements), totaling thirteen competencies, 3) activities for the development comprise the development of knowledge, attitude, and skills, and 4) the process of promoting the development include the planning of the development (P), implementing the plans (D), checking and evaluating the development (C), and improvement measures (A).

           3. The evaluation of the utility of the constructed model as a whole and as individual factors by the directors of the Office of Educational Service Areas yielded a high level of feasibility of using the model.

Article Details

How to Cite
อ้นน่วม ว., จันทร์ศิลา ว., มีแจ้ง ส., & พานิชย์ผลินไชย เ. (2016). รูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 18(3), 292–302. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66627
Section
Research Articles