รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

ไท พานนนท์
ฉันทนา จันทร์บรรจง
ทักษ์ อุดมรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อระบุความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ พฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ และวิธีการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 4) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาไปใช้ระเบียบวิธีวิจัย ดำเนินการ 4 ขั้นตอน  1) เพื่อระบุความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง 375 คน 2) การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ พฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ และวิธีการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนและสอบถามความคิดเห็นเชิงฉันทามติสองรอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 21 คน 3) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยของผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง 4) การประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาไปใช้ในการพัฒนา โดยวิธีการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) เพื่อระบุความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั้ง 16 สมรรถนะ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยสมรรถนะด้านความคิดเชิงกลยุทธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) องค์ประกอบของสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ มี 5 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความสัมพันธ์ ด้านการสร้างอนาคต และด้านบุคคลในแต่ละด้านมีพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะ 4 ประการ คือ ความสามารถในการมององค์รวมของระบบ การคาดคะเนอนาคต ศิลปะการสื่อสารและการจูงใจ และความฉลาดในการเลือกโอกาสที่ดี ทั้งนี้ มีวิธีการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) รูปแบบที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 10 วัน และคู่มือที่นักวิจัยสร้างขึ้น 1 เล่ม และ 4) ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาไปใช้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

A MODEL FOR THE DEVELOPMENT OF STRATEGIC THINKING COMPETENCY IN THE DEPUTY DIRECTORS OF PRIMARY EDUCATION AREA OFFICES

This research aimed to propose a model for the development of strategic thinking competency (STC) by deputy directors of the Primary Education Area Offices. The specific objectives were: 1) to identify the needs to develop the strategic management competencies; 2) to identify key performance indicators and methods for the development of the STC; 3) to create a model for the development of the STC; and 4) to evaluate the feasibility of the model for the development of the STC. The research was based on mixed methods, with four phases: 1) assessing the needs to develop strategic management competencies through a survey of opinions from 375 samples; 2) identifying the composition, the behavioral indicators, and the methods for development of the STC by means of the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR), which involved 5 interviewees and 21 experts who answered twice to reach the consensus; 3) creating the model for developing of the STC whose contents were validated by 5 experts using the Index of Congruence (I.O.C.); and 4) evaluating the feasibility of the STC model by 8 experts using the focus group discussion technique. The findings were: 1) the needs to develop all of 16 strategic management competencies were at high level, with the highest rank for the STC; 2) the STC was composed of 5 sub domains - the intelligence domain, the leadership domain, the relationship domain, the future building domain, and the personal domain - each domain comprised 4 characteristics - the ability to see the system as a whole, the capability to forecast the future, the arts of communication and motivation, and the wisdom to choose good opportunities; 3) the model created for developing STC by deputy directors of the Primary Education Area Offices was composed of a workshop-oriented program that lasted 10 days and a manual; and 4) the feasibility of the created model was at the topmost level.

Article Details

How to Cite
พานนนท์ ไ., จันทร์บรรจง ฉ., & อุดมรัตน์ ท. (2016). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 18(4), 128–141. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70964
Section
Research Articles