แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (GUIDELINES FOR DEVELOPING DESIRABLE ATTRIBUTES AND TRAITS OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS ON THE RURAL HIGHLAND UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION, MINISTRY OF EDUCATION)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง 2) สร้างแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสนทนากลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง 3) การดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง 4) ประเมินแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง โดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตน ด้านความรู้และทักษะ และด้านการปฏิบัติงานของผู้บริหารฯ 3 กลุ่ม จำแนกตามจำนวนปีที่ดำรงตำแหน่ง คือ กลุ่มผู้บริหารฯ ที่ดำรงตำแหน่ง ไม่เกิน 4 ปี มีความต้องการในการพัฒนา ด้านการปฏิบัติตนอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มผู้บริหารฯ ที่ดำรงตำแหน่ง มากกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี มีความต้องการในการพัฒนาด้านความรู้และทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มผู้บริหารฯ ที่ดำรงตำแหน่ง มากกว่า 8 ปี มีความต้องการในการพัฒนาด้านการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการสร้างแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง พบว่า แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูงทั้ง 3 กลุ่ม ผู้บริหารฯ จำแนกตามจำนวนปีที่ดำรงตำแหน่ง ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารฯ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตน ด้านความรู้และทักษะ และด้านการปฏิบัติงาน 2) ขั้นตอนการพัฒนา มี 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การดำเนินการก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การดำเนินการพัฒนา และขั้นที่ 3 การดำเนินการหลังการพัฒนา
3. ผลการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง พบว่า มีการสร้างเครือข่ายของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง จำนวน 10 เครือข่าย ดำเนินการตาม 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ การดำเนินการก่อนการพัฒนา การดำเนินการพัฒนาและการดำเนินการหลังการพัฒนา ของผู้บริหารฯ ทั้ง 3 กลุ่ม
4. ผลการประเมินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูงของกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูงที่ โดยพิจารณาด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ด้านกระบวนการพัฒนา และด้านผลที่ได้รับจากการพัฒนาทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
GUIDELINES FOR DEVELOPING DESIRABLE ATTRIBUTES AND TRAITS OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS ON THE RURAL HIGHLAND UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION, MINISTRY OF EDUCATION
The main objective of this research was to study guidelines for developing desirable attributes and traits of the school administrators on rural highland. Research procedure followed 4 steps: 1) assessing the needs for developing desirable attributes and traits of rural highland school administrators, 2) constructing guidelines for developing desirable attributes and traits of rural highland school administrators, 3) implementing the constructed guidelines to develop the desirable attributes and traits for rural highland school administrators, and 4) evaluating the outcomes of implementing the guidelines to develop desirable attributes and traits of the rural highland school administrators. Statistics employed in this research were arithmetic means, standard deviation and content analysis. The findings were as followed:
1. The needs to develop desirable attributes and traits of rural highland school administrators were classified into 3 groups with duration of years in the administrative positions. Those who were less than 4 years in the administrative position required self-development at the highest level, those in the position more than 4 years to 8 years needed knowledge and skills at the highest level and those who were more than 8 years in the position needed to develop functional work performance at the highest level.
2. The constructed guidelines for developing desirable attributes and traits of rural highland school administrators consisted of: 1) three desirable attributes and traits, namely self-development, knowledge and skill development, functional work performance development. 2) the development steps by pre-operation, on process operation and post-operation.
3. The evaluation of guidelines for developing desirable attributes and traits of rural highland school administrators involving the development process and the outcome were rated at the highest level.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.
References
Hartly, J., & Hinksman, B. (2003). Leadership development: A systematic review of the literature. Warwickshire: Warwick Business School.
Kanjanawasi, S. (2004). Theoretical assessment (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Khammani, T. (2008). Knowledge to the learning process effective (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Lamphunphong, S. (2014). The develop educational administrators in Highlands and Rural Areas. Bangkok: The Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education and United Nations Children's Fund. [in Thai]
Manokarn, M., Jansila, V., Chatruprachewin, C., & Mejang, S. (2012). The development of an administrative model for the basic education schools on the highland and remote areas. Journal of Education Naresuan University, 14(special), 73-88. [in Thai]
Muenjaem, S. (2012). The factors of transformational leadership of highland basic school administrators. Rajabhat Chiangmai Research Journal, 13(2), 53-69. [in Thai]
Phucharoen, S. (2010). A construction of leadership characteristic development model of school administrators under the Office of Basic Education Commission (Doctoral dissertation). Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University. [in Thai]
Suwannasuan, W., Chaiyakit, M., Markshoe, P., & Thamrongsotthisakul, W. (2013). A model of alternative education for disadvantaged children on highlands in the Upper North of Thailand. Journal of Education Naresuan University, 15(special), 182-192. [in Thai]
The Office of Strategy and Integrated Education 1. (2011). The action plan the central province of upper 2nd annual fiscal year 2554 under the development plan. (North Central Province Study Group 2). Chiang Mai: The Office of Strategy and Integrated Education 1. [in Thai]