การศึกษาแนวคิดของนักเรียน เรื่อง ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค ตามกรอบการมองแบบพหุมิติของการจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิด (EXPLORING STUDENTS' CONCEPTION IN WAVE-PARTICLE DUALITY THROUGH MULTIDIMENSIONAL FRAMEWORK OF CONCEPTUAL CHANGE APPROACH)

Main Article Content

สุทธิพัญน์ จันทราศรี (Suthipan Chanthrasre)
ชาตรี ฝ่ายคำตา (Chatree Faikhamta)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพจริงก่อนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องทวิภาวะของคลื่นและอนุภาคของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามกรอบการมองแบบพหุมิติของการจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวคิดและธรรมชาติของแนวคิดของนักเรียนที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดวิทยาศาสตร์ 4 ข้อ คือ 1) นักเรียนมีแนวคิดที่คลาดเคลื่อนตั้งแต่แนวคิดฟิสิกส์พื้นฐาน 2) นักเรียนไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างสมบัติของคลื่นกับอนุภาคได้ 3) นักเรียนประสบปัญหากับการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง 4) นักเรียนยังคงมีแนวคิดเเบบเดิมที่แสดงว่าเเสงเป็นคลื่นและอิเล็กตรอนเป็นอนุภาคในบริบทการทดลองของฟิสิกส์ยุคใหม่ สำหรับมุมมองทางด้านจิตใจพบว่านักเรียนบางส่วนมีแรงจูงใจเกี่ยวกับความเชื่ออยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในด้านเป้าหมายการเรียนรู้ ด้านความสนใจ/การให้คุณค่า และด้านการรับความรู้ความสามารถของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของนักเรียนไปสู่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์

Article Details

How to Cite
(Suthipan Chanthrasre) ส. จ., & (Chatree Faikhamta) ช. ฝ. (2018). การศึกษาแนวคิดของนักเรียน เรื่อง ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค ตามกรอบการมองแบบพหุมิติของการจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิด (EXPLORING STUDENTS’ CONCEPTION IN WAVE-PARTICLE DUALITY THROUGH MULTIDIMENSIONAL FRAMEWORK OF CONCEPTUAL CHANGE APPROACH). Journal of Education and Innovation, 21(1), 277–292. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/75492
บท
บทความวิจัย

References

Cheong, Y. W., & Song, J. (2014). Different levels of the meaning of wave-particle duality and a suspensive perspective on the interpretation of quantum theory. Science & Education, 23, 1011-1030.
Chi, M. T. H. (2008). Three types of conceptual change: Belief revision, mental model transformation, and categorical shift. In: Vosniadou, S., Ed., International Handbook of Research on Conceptual Change, Routledge, New York, 61-82.
Lederman, N. G., & Abell, S. K. (2014). Handbook of research on science education. London: Routledge.
Pintrich, P. R., Marx, R. W., & Boyle, R. A. (1993). Beyond cold conceptual change: The role of motivational beliefs and classroom contextual factors in the process of conceptual change. Review of Educational Research, 63(2), 167-199.
Posner, G. J., Strike, K. A., Hewson, P. W., & Gertzog, W. A. (1982). Accommodation of a scientific conception: toward a theory of conceptual change. Science Education, 66(2), 211-227.
Treagust, D., & Duit, R. (2008). Conceptual change: A discussion of theoretical, methodological and practical challenges for science education. Cultural Studies of Science Education, 3, 297-328.
Treagust, D., & Duit, R. (2009). Multiple perspectives of conceptual change in science and the challenges ahead. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 32(2), 89-104.
Tyson, L. M., Venville, G. J., & Harrison, A. G. (1996). A multidimensional framework for interpreting conceptual change events in the classroom. Science Education, 81, 387-404.