การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL FOR COMPUTER SUBJECT BASED ON PROJECT - BASED LEARNING WITH SOCIAL MEDIA TO ENHANCE INFORMATION COMMUNICATION AND TECHNOLOGY LITERACY FOR UPPER PRIMARY STUDENTS)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตืน จังหวัดลำพูน จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) แบบทดสอบวัดความรู้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นแบบปรนัยและแบบอัตนัย 3) แบบประเมินทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5) แบบประเมินโครงงานคอมพิวเตอร์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า PS2C2RPE Model มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอน 8 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมผู้เรียน (Prepare: P) ขั้นที่ 2 คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ (Select: S) ขั้นที่ 3 ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล (Search: S) ขั้นที่ 4 จัดทำเค้าโครงของโครงงาน (Create: C) ขั้นที่ 5 ลงมือทำโครงงาน (Create Project: C) ขั้นที่ 6 เขียนรายงาน (Report: R) ขั้นที่ 7 นำเสนอและแสดงผลงาน (Present: P) ขั้นที่ 8 ประเมินผลโครงงาน (Evaluate: E) ผลการประเมินคุณภาพ โดยการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.13) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (
= 4.28, S.D. = 0.72) แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.54, S.D. = 0.58) และเมื่อนำไปทดลองนำร่อง พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .06413 คิดเป็นร้อยละ 64.13
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .06841 คิดเป็นร้อยละ 68.41 2) นักเรียนมีทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีผลการประเมินโครงงานคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับดีมาก 4) นักเรียนมีพฤติกรรมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.66)
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Journal of Digital Learning in Teacher Education, 27(2), 53 – 64.
Joyce, B., & Weil, M. (2000). Model of teaching (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Khemmani, T. (2008). Various choice teaching styles (5th ed.). Bangkok: Active Printing. [in Thai]
Kongmanus, K. (2016). Development of project-based learning model to enhance educational media business ability for undergraduate student in educational technology and communications program. Retrieved January 11, 2017, from https://tafpublications.com/gip_content/paper/jahss-2.5.5.pdf
Mingsiritam, K. (2016). Creative education media design. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
[in Thai]
Ministry of Information and Communication Technology. (2012). ICT camp program of activities. Retrieved December 20, 2014, from https://www.ku.ac.th/mictcamp/point.html [in Thai]
Meechok, M., Kaewurai, W., Wattanathorn A., & Parnichparinchai, T. (2016). The development of
an problem based learning model with scaffolding to enhance mathematical thinking skill for upper secondary students. Journal of Education Naresuan University, 17(1), 91-102. [in Thai]
Muendet, S. (2013). 10 project-based learning styles with social media to enhance 21st century skills. Retrieved October 3, 2015, from https://hooahz.files.wordpress.com/2013/11/10e0b882e0b8b1e0b989e0b899e0b895e0b8ade0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b980e0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b899e0b981e0b89ae0b89ae0b982e0b884e0b8a3.pdf [in Thai]
Office of the Education Council. (2016). The direction and research problem of Thai education to achieve the goal of sustainable development of the world. Bangkok: 21st Century. [in Thai]
Pahae, S. (2012). Social media for education. Retrieved October 3, 2015, from https://www.addkutec3.com/wp-content/uploads/2015/06/Social-Media-for-Education.pdf [in Thai]
Pitiporntaepin, S. (2015). 21st century learning management with science. Samut Prakarn: Boss Printing. [in Thai]
Setkhumbong, T. (2011). Effect of e-learning using collaborative learning via social Media on competency of using information and communication Technology of undergraduate educational students (Master thesis). Bangkok: Silpakorn University. [in Thai]
Songkram, N. (2013). Innovation: Transform learners into innovators. Bangkok: V Print (1991). [in Thai]
Tumthong, B. (2013). Theories and development of instructional model (2nd ed.). Bangkok: S. Printing Thai Factory. [in Thai]
Vivitkunkasem, K. (2014). Include articles on technology and communication education: Innovation blended learning. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Wipawin, N. (2009). Media literacy information literacy and information communication and technology literacy. Bangkok: Department of Library and Information Science Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University. [in Thai]