การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึมและการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคอนสตรักติวิซึมร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารของมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารของมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึมร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 45 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 45 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึมร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ เรื่องระบบการย่อยอาหารของมนุษย์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม เรื่องระบบการย่อยอาหารของมนุษย์ 3) แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบการย่อยอาหารของมนุษย์ และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และสถิติการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารของมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึมร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรักติวิซึม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
A COMPARISON OF CONSTRUCTIVIST APPROACH AND CONSTRUCTIVIST APPROACH WITH CONCEPT MAP TECHNIQUE HUMAN DIGESTIVE SYSTEM OF
STUDENTS IN MATTAYOMSUKSA 1
The purpose of this research is to compare scientific concepts and attitude towards science on Human Digestive system of students in Mattayomsuksa 1 that learning activities Constructivist approach and Constructivist approach with concept map Technique Human Digestive system of students in Mattayomsuksa 1. The representative sample was students in Mattayomsuksa one in Pathumthani province. Students were divided equally in to two groups. The control group learning activities constructivist approach and the experimental group learning activities constructivist approach with concept map technique by Cluster Random Sampling. The instruments in research included: 1) The lesson plan of learning constructivist approach about Human Digestive system, 2) the lesson plan of learning constructivist approach with concept map Technique about Human Digestive system, 3) the measurement of sciences concept Test on Human Digestive system. The questionnaires reliability value were 0.92, and 4) the measurement of sciences attitude test. The data were analyzed using means, standard deviation, ancova, and independent sample t-test.
The results of the research were scientific concepts and attitude towards science on Human Digestive system of students in Mattayomsuksa1 posttest using learning constructivist approach with concept map Technique were significantly higher than posttest using learning constructivist approach only at 0.05 level.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.