ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

จิราภรณ์ หล้าน้อย
พัทธมน แสงอินทร์
สิรินภา กิจกื้อกูล

Abstract

   การวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 25 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดมโนทัศน์ 3) แผนผังมโนทัศน์ ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาความเข้าใจในมโนทัศน์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ได้ทั้ง 4 มโนทัศน์ย่อย ได้แก่ 1)ไกลโคไลซิส 2) วัฏจักรเครบส์ 3) การถ่ายทอดอิเล็กตรอน และ 4) การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้  ทั้งนี้นักเรียนส่วนใหญ่พัฒนามโนทัศน์เชิงวิทยาศาสตร์ได้ แต่อาจยังไม่ครบทุกมโนทัศน์จัดอยู่ในกลุ่มความเข้าใจเพียงบางส่วน มโนทัศน์ที่นักเรียนมีการพัฒนามากที่สุดคือ เรื่อง ไกลโคไลซิส ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนามโนทัศน์ย่อย อย่างไรก็ตาม หากนักเรียนมีมโนทัศน์พื้นฐานยังไม่สมบูรณ์ หรือยังคงมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนามโนทัศน์ย่อยในเรื่องต่อไป ฉะนั้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้ทบทวน และสรุปความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ต่างๆ ได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจช่วยให้นักเรียนมีโอกาสปรับปรุงแก้ไขมโนทัศน์ของตนเองได้ทันท่วงที

EFFECTS OF TEACHING THROUGH 7E – LEARNING CYCLE WITH CONCEPT MAP TO DEVELOP CONCEPTUAL UNDERSTANDING ABOUT CELLULAR RESPIRATION OF MATTAYOMSUKSA IV STUDENTS

   The object of this research was to study effects of teaching through 7E – learning that coordinated with concept map for development of conceptual understanding about cellular respiration in the Mattayomsuksa IV students. The 25 students were collected as the samples by purposive sampling. The research instruments were 1) the lesson plans, 2) the concept test, and 3) concept mapping. The results demonstrated that all students developed understanding of cellular respiration conception such as glycolysis, Kreb’s cycle, electron transport chain (ETC) and anaerobic respiration. However their conceptual understandings could be classified in partial understanding (PU). Mostly, they developed the understanding of glycolysis. This concept was learned as basic of cellular respiration conception. In addition, this study found that if the students had partial understanding or hold specific misconceptions. These would be a barrier to develop the conceptual understanding. Then, teacher should add another learning activities to resolve the problem. It probably supported the students having opportunities to complete or to correct their conceptual understanding by themselves immediately. 

Article Details

How to Cite
หล้าน้อย จ., แสงอินทร์ พ., & กิจกื้อกูล ส. (2017). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนามโนทัศน์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education and Innovation, 19(2), 134–144. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/88860
Section
Research Articles