การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย

Main Article Content

ศศิธ์อร บุญวุฒวิวัฒน์
อมรรัตน์ วัฒนาธร

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น ผู้วิจัยดำเนินการสร้างคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น จำนวน 8 แผน รวมทั้งหมดจำนวน 24 ชั่วโมง แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น จากนั้นนำไปทดลองใช้กับแรงงานไทย เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น และคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในภาษาเกาหลีและประเทศเกาหลี แบบประเมินความสามารถทางภาษาเกาหลีเบื้องต้น และแบบประเมินเจตคติที่มีต่อภาษาเกาหลี และประเทศเกาหลี ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย โรงเรียนภาษาพัฒนาอาชีพพิษณุโลก ปีการศึกษา 2557 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงแบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม ผลการวิจัย พบว่า
     1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นให้ความสำคัญกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และใช้วิธีสอนแบบบทบาทสมมติโดยมี
8 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยผู้เชี่ยวชาญ ประเมินว่าหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น มีความเหมาะสมระดับมาก (\bar{x} = 4.32, S.D. = 0.13) และคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น มีความเหมาะสมในระดับมาก (\bar{x} = 4.14, S.D. = 0.15) และเมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้น มีดัชนีประสิทธิผลด้านความรู้ ความเข้าใจในภาษาเกาหลี และประเทศเกาหลี เท่ากับ 0.9374 คิดเป็นร้อยละ 93.74 ซึ่งดัชนีประสิทธิผลเป็นค่าแสดงความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยค่าดัชนีประสิทธิผลควรมีค่า 0.5 ขึ้นไป
     2. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า
        2.1 ความรู้ความเข้าใจในภาษาเกาหลีและประเทศเกาหลี หลังฝึกการอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมี
        2.2 ความสามารถทางภาษาเกาหลีเบื้องต้น หลังฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        2.3 เจตคติต่อภาษาเกาหลี และประเทศเกาหลี หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย อยู่ในระดับมาก

A TRAINING CURRICULUM DEVELOPMENT ON INTRODUCTION TO KOREAN LANGUAGE FOR THAI LABOURS

     The purposes of this research were: 1) to construct and calculate the effectiveness index of the training curriculum of Korean language for Thai labours, 2) to implement the training curriculum of Korean language for Thai labours, and 3) to study satisfaction on the training curriculum of Korean language for Thai labours. There were three steps of research and development as follows; the first step, constructing and calculating the effectiveness index of the training curriculum and its supplement. Suggestions offered the improvement from 5 experts were used in the phase. The second step, implementing the training curriculum with a sample of 40 labours in 1 school the third step, studying satisfaction of the labours on the training curriculum. The results were as follows;
     1.  Training curriculum focuses on collaborative learning and role play which consisted of 8 elements; principles, rationale, objectives, structure, training activities, period of time, learning materials, measurement and evaluation. The evaluation by experts showed that the training curriculum were suitable in at high level (\bar{x} = 4.32, S.D. = 0.13), training curriculum handbook were suitable at high level (\bar{x} = 4.14, S.D. = 0.15) When using the activities with the sample group, it found that the training curriculum had the index of effectiveness the competency of the knowledge and understanding in Korean language and Korea to 0.9374 or 93.74% The result of the effectiveness index indicates the advancement of the learners. The score of the effectiveness index should increase by at least 0.5 (Academic Department, 2002, p.58).
     2. The results of the implementation of the training curriculum showed that:
         2.1 The knowledge and training curriculum in Korean language and Korea of post-test was higher than that of pre-test at significance level .05
         2.2 The result of basic Korean language skills was higher than that of the set criteria up to 70% at significance level .05.
         2.3 The attitude toward the Korean language and Korea of post-test was higher than that of pre-test at significance level .05.
     3. The satisfaction on the training curriculum of Thai labours was at high level.

Article Details

How to Cite
บุญวุฒวิวัฒน์ ศ., & วัฒนาธร อ. (2017). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย. Journal of Education and Innovation, 19(2), 214–229. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/89861
Section
Research Articles